ค้นหาบทความ:

การถือหุ้นของชาวต่างชาติ มีขั้นตอนและการแสดงหลักฐานอะไรบ้าง ?

ชาวต่างชาติส่วนใหญ่นิยมเข้าประเทศไทยเพื่อมาทำงาน มาลงทุน หรือมีครอบครัวเป็นคนไทยมีถิ่นที่อยู่ในไทย ทำให้มีข้อสงสัยมากมายว่า หากชาวต่างชาติต้องการทำธุรกิจและถือหุ้นในประเทศไทย จะต้องทำอย่างไร Wonderfulpackage มีข้อแนะนำให้กับชาวต่างชาติที่สนใจจะทำธุรกิจและถือให้ในประเทศไทยค่ะ

การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มี 2 กรณี

กรณีที่ 1 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติไทย คือ คนไทย ถือหุ้นอย่างน้อย 51% และคนต่างชาติ ถือหุ้นไม่เกิน 49% โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทุกอย่างตามที่กฏหมายกำหนด
กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น คือ คนต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน

หมายเหตุ : หากคนต่างชาติถือหุ้นในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ 40-49% หรือต่ำกว่า 40% ของทุนจดทะเบียน แล้วเป็นผู้มีอำนาจลงนามหรือทำการแทนบริษัทจำกัดด้วยทางผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนจะต้องนำส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนและต้องสอดคล้องกับเงินทุนที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายด้วย

หลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน มีดังนี้

  1. หนังสือรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นจากธนาคารในประเทศไทย
  2. สำเนา สมุดเงินฝากธนาคาร
  3. สำเนา ใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
  4. สำเนา หลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินทุนที่นำมาชำระค่าหุ้น

ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการต่างชาติที่มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนมาด้วย เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียน

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มีดังนี้

  1. ตรวจสอบและจองชื่อบริษัทชื่อบริษัทที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปก่อนหน้า เมื่อได้ชื่อ แล้วให้จองชื่อบริษัท ซึ่งจองได้ 2 วิธี
    1.1 จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
    1.2 จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเข้าไปสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
    ทั้งนี้ ท่านสามารถทำการจองชื่อสำหรับใช้จดทะเบียนบริษัทได้ทั้งหมด 3 ชื่อ รู้ผลภายใน 30นาที เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากล่าช้ากว่านั้นต้องทำการจองใหม่
  2. ผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์*และ เอกสารประกอบคำขอแล้วนำไปจดทะเบียน
  3. ผู้ก่อการจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
  4. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  5. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
  6. กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
  7. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการบริษัทจะต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ โดยนำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากการประชุมตั้งบริษัท

*ข้อควรรู้ : หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท ระบุขอบเขตต่างๆ ของธุรกิจ โดยสามารถจดทะเบียนบริษัทและหนังสือบริคณห์สนธิได้พร้อมกัน ผู้ดำเนินการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว

ข้อมูลที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • ชื่อของบริษัท (ตามใบจองชื่อไว้)
  • ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ / สาขา
  • วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
  • ทุนจดทะเบียน อย่างน้อย 1 ล้านบาท
  • ข้อมูลผู้ก่อการ โดยการจดทะเบียนบริษัทนั้นจะต้องมีผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  • ข้อมูลผู้ถือหุ้น เช่น ชื่อ-สกุล สัญชาติ ที่อยู่ และจำนวนผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้ง บุคคลอื่นก็สามารถเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทได้
  • ข้อมูลพยาน การจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีพยาน 2 คน
  • รายละเอียดการประชุมจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท เช่น ข้อบังคับของบริษัท กรรมการบริษัท ผู้สอบบัญชี เป็นต้น

รายการหลักฐานและเอกสารประกอบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ มี 3 กรณี

กรณี 1 บริษัทเป็นบุคคลธรรมดา

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนา หนังสือเดินทาง
  3. สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  4. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  5. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  6. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
  8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

กรณี 2 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนา หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
  3. หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล
  4. สำเนา หนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
  5. สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  6. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  7. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  8. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  9. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
  10. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

กรณี 3 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
  3. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  4. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  5. หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างชาติถือ
  6. แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
  8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)


ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท มีดังนี้

  1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนละ 50 บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
  2. จดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท
  3. ออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  5. ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท


อย่างไรก็ตาม Wonderfulpackage ขอแนะนำให้ชาวต่างชาติศึกษาเพิ่มเติมให้ดีก่อนว่าบริษัทที่ต้องการจัดตั้งและจดทะเบียนนั้นควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ท่านจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ท่านสามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการพัฒนาธุรกิจ หรือหากไม่มั่นใจว่าจะดำเนินการถูกต้องหรือไม่ หรือไม่มีเวลาดำเนินการ ก็แนะนำว่าให้หาสำนักงานช่วยเหลือแทน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • DBD

Work Permit & VISA consultancy


What are the procedures and documents of foreign shareholders?

外国人的持股,有哪些程序和要提供哪些证据?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของเอกสารที่ต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล มีขั้นตอนและการเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารหลายอย่างที่เป็นเอกสารสาธารณะเลยมีการจัดทำคำแปลเป็น 2ภาษา ให้เป็นเอกสารมาตรฐาน สามารถนำไปใช้ได้เลย (แต่ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติก่อน) ที่จะไปยื่นตามหน่วยงานต่างๆ

หากต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล ขอได้ที่ไหนบ้างและผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

หากต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล ขอได้ที่ไหนบ้างและผ่านช่องทางไหนได้บ้าง การไปยื่นเอกสารเพื่อขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือการผ่านตัวแทน และมีบริการรับรองเอกสารผ่านทางไปรษณีย์

กงสุลได้จัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม ส่งเสริมนักลงทุนในการเดินทางเข้าประเทศไทย

กรมการกงสุล ได้เปิดประชุมกงสุลโลกผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์​ ณ กรมการกงสุล โดยมีเจ้าหน้าที่กงสุลของไทยจาก 96 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมประชุม โดยการประชุมมีเป้าหมายเพื่อเตรียมพร้อมความเข้าใจมาตรการ​ผ่อนคลายด้านวีซ่าประเภทต่างๆ

ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ??

การขอทะเบียนของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านได้ในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น

หากต้องการแจ้งเกิดบุตรและจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติมีขั้นตอนและแสดงหลักฐานอะไรบ้าง?

ปัจจุบันคนไทยจดสมรสกับชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากและยังมีบุตรกับคนต่างชาติจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าในการแจ้งเกิดบุตรและรับรองบุตร กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ จะยุ่งยากไหม ต้องแสดงหลักฐานและขั้นตอนยังไงบ้าง??

การยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ผ่านอินเตอร์เน็ต มีขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

กรมสรรพากรมีการให้ยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ปัจจุปันประชาชนให้ความสำคัญในการยื่นภาษีออนไลน์เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ แถมยังเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

หากชาวต่างชาติต้องการกู้เงินธนาคาร เพื่อซื้อทรัพย์สินในประเทศไทยต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบันชาวต่างชาติมาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในไทย หรือ การจดทะเบียนสมรสกับคนไทย ทำให้ต้องการมี บ้าน คอนโดมิเนียม รถยนต์ ในประเทศไทยตอนนี้สามารถให้ชาวต่างชาติกู้ซื้อทรัพย์สินในไทยได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้กู้ว่าต้องการกู้เพื่ออะไร เช่นการกู้เงินเพื่อซื้อคอนโด รถยนต์

วีซ่าชั่วคราวอเมริกา มีกี่ประเภท??

อยากไปอเมริกาก็ต้องขอวีซ่า แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวีซ่าอเมริกามีหลายประเภท แยกตามวัตถุประสงค์ในการเข้าประเทศ จะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะต้องยื่นขอวีซ่าประเภทไหนไปดูกันค่ะ

มาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

มาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้โดยสารจองเส้นทางบินในประเทศ จาก 6 สายการบิน เช่น การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน การเปลี่ยนแปลงวันเดินทาง การเปลี่ยนแปลงเส้นทาง และการขอคืนเงิน/เก็บเครดิต

ศบค. ยกเลิกตรวจ RT-PCR ทุกกลุ่ม ก่อนเข้าประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 เป็นไปต้น

รัฐบาล มีมติเห็นชอบปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร สำหรับผู้เดินทาง Test & Go (บก น้ำ อากาศ) Sandbox Quarantine (AQ,OQ,SQ) และผู้ควบคุมยานพาหนะ ที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย เดินทางเข้าประเทศไทย ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ทุกกลุ่ม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!