วรรณกรรมเกาหลี
ช่วง ค.ศ. 1900-1910 วรรณกรรมเกาหลีจะเน้นนวนิยายประวัติศาสตร์ รักชาติ
ช่วง 1910 วรรณกรรมอยู่ตัว เป็นรากฐานของเกาหลี เป็นสมัยที่คนเกาหลีไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นกันมาก และได้รับรูปแบบและเนื้อหามาจากญี่ปุ่น
ช่วง 1920 ก่อนปี ค.ศ. 1920 มีเหตุการณ์รณรงค์เรียกร้องเอกราชจากญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1919 ประชาชนต่อสู้กับอำนาจของญี่ปุ่น ในวันที่ 1 มีนาคม มีคนตายมากมาย และเหตุการณ์นี้ทำให้ญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการปกครองเกาหลี
ช่วง 1920 วรรณกรรมแสดงความรักชาติมากขึ้น กล่าวถึงประวัติศาสตร์ และบุคคลในทุนนิยม แนวทางการเขียนแบบตะวันตกแพร่เข้ามามากขึ้น ทำให้เกิดพันธมิตรทางวรรณกรรมของซูซอน กลุ่ม Politalia นักเขียนเรียกร้องเอกราชผ่านวรรณกรรม และก็มีกลุ่มวรรณกรรมบริสุทธิ์ที่ปฏิเสธจะเข้าร่วมกับพันธมิตร เป็นยุคที่วรรณกรรมเริ่มปฏิเสธตะวันตก
ช่วง 1930 ญี่ปุ่นกลับปกครองเกาหลีอย่างเข้มงวดขึ้น เคร่งครัดกว่าเดิม ทั้งเข้าไปปกครองแมนจูเลีย ทำให้ Politalia สลายตัว ตอนนั้นญี่ปุ่นเป็นฟาสซิสต์สมบูรณ์แบบ และบังคับให้นักเขียนเกาหลีเขียนสรรเสริญอำนาจของญี่ปุ่น ซึ่งนักเขียนหลายปฏิเสธ และต้องลี้ภัยทางการเมืองไปต่างประเทศ
ช่วง 1950-1960 คนที่ปฏิเสธรัฐบาลต้องหลบซ่อนใต้ดิน เป็นช่วงวรรณกรรมไม่ค่อยพัฒนา
ปี ค.ศ. 1960 เกิดเหตุการณ์ 19 เมษายน นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย ทว่าเพียง 1 ปี ใน ค.ศ. 1961 ประเทศก็กลับไปอยู่ใต้การปกครองของทหารต่อไป (เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ของไทย) รัฐบาลห้ามนักเขียนเขียนเรื่องที่ต่อต้านรัฐบาล เป็นช่วงที่นักเขียนไม่มีที่ยืนในสังคม
หลัง ค.ศ. 1979 หลังเหตุการณ์ณ์ประธานาธิบดีถูกสังหาร เกิดงานที่ต่อต้านรัฐบาลมาก วรรณกรรมปฏิเสธการเมืองทุนนิยม และให้ความสำคัญกับเรื่องชนชั้นให้ความสำคัญกับชนชั้นกรรมกร เกิดนักเขียนกรรมกร หรือนักเขียนเพื่อสังคม หลังจากรัสเซียล่มสลาย เกาหลีก็เริ่มสูญเสียความคิดที่เคยมี นักเขียนรุ่นใหม่ ใช้คำสละสลวย แต่ทว่าความหมายทางการเมืองและประวัติศาสตร์หายไป
นักวิจัยเกาหลี ผู้ร่วมบุกเบิกพัฒนาเกาหลีด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 40 ปีก่อน เผยแดนกิมจิก้าวหน้าได้ด้วยกลุ่มวิศวกร 20 คน ชี้กระบวนการพัฒนาไม่ได้ใช้คนนับพัน แต่ใชแค่ไม่กี่คนที่มีความมุ่งมั่น และผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่ทำงานอย่างตั้งใจ
ดร.ยง-อ๊ก อัน (Dr.Young-Ok Ahn) ที่ปรึกษาและนักวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนาโน (Institute of Nano Science and Technology) มหาวิทยาลัยฮันยาง (Hanyang University) กรุงโซล เกาหลีใต้ หนึ่งใน 20 วิศวกรเกาหลีที่ร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของเกาหลี ได้เดินทางมาปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สร้างประเทศเกาหลีด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ภายในการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 24 ก.ค.52 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
นักวิจัยอาวุโสจากเกาหลีกล่าวปาฐกถาว่า เกาหลีมีแผนพัฒนาประเทศเป็นแผน 5 ปี ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2505 ด้วยความพยายามอย่างยิ่งในการริเริ่มของ ปาร์ก ชุงฮี (Park Chunghee) อดีตประธานาธิบดีเกาหลี ซึ่งแผนพัฒนาฯ หลายฉบับร่างขึ้นโดย มร.โอ วอนชุล (O Wonchul) ผู้ช่วยพิเศษของประธานาธิบดี และมี มร.คิม กวางโม (Kim Kwangmo) ซึ่งเป็นวิศวกรเคมีและเพื่อนร่วมชั้นกับ ดร.อันด้วยนั้น เป็นทีมงานสำคัญของอดีตประธานาธิบดี
ในช่วงของแผนพัฒนาฉบับที่ 1 นั้น ขนาดเศรษฐกิจของเกาหลียังไม่สำคัญระดับโลก และการวางแผนเน้นไปที่การทดแทนนำเข้า และส่งเสริมการส่งออกโดยอาศัยนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ช่วงนั้นเกาหลีเริ่มผลิตยางยนต์และส่งออกไม้อัด พร้อมตั้งโรงงานปุ๋ยยูเรีย โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานซีเมนส์และโรงงานแก้ว มาถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 ระหว่างปี 2510-2514 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการก่อตั้ง สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเกาหลี (Korea Institute of Science and Technology: KIST) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเกาหลี
การก่อตั้งสถาบัน KIST นี้ได้ ดร.ชอย ฮยุนซุป (Dr.Choi Hyunsup) มารับตำแหน่งประธานคนแรก ซึ่ง ดร.ฮยุนซุปได้เชิญผู้เชี่ยวชาญชาวเกาหลีที่จบการศึกษาสูงและมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี อยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกรและนักเคมีประยุกต์ ให้กลับไปทำงานที่เกาหลี โดยหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญจำนวนนั้นมี ดร.ชุง วอน (Dr.Chung Won) ที่จบปริญญาเอกทางด้านฟิสิกส์ ได้กลับไปบุกเบิกการสร้างผลึกซิลิกอนเดี่ยวในเกาหลี ส่วน ดร.ฮยุนซุปต่อมาได้กลายเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเกาหลีคนที่ 2 อีกทั้งยังเคยมาช่วยปฏิบัติงานที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย เป็นเวลา 6 เดือนด้วย
ผู้หล่อ บอกต่อด้วย ตลาดเมียงดง เกาหลี สวรรค์แห่งนักช้อป นักชิม
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้