ก่อนเที่ยวยุโรปต้องรู้! Daylight saving time คืออะไร?
Daylight saving time (DST) หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้าง โดยเเฉพาะคนที่ต้องเดินทางไปประเทศในแถบยุโรป จะมีการตั้งค่าเวลาเอาไว้เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศกลางวัน-กลางคืน ที่อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อฤดูกาลเปลี่ยน โดยเฉพาะการเปลี่ยนเวลาในช่วงฤดูร้อน และเปลี่ยนกลับมาสู่เวลาปกติในช่วงฤดูหนาว Daylight saving time คืออะไร เค้ามีวิธีการนับเวลากันอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ
Daylight saving time คืออะไร
Daylight saving time มักเป็นคำที่ใช้กับประเทศในยุโรป และหากเป็นฝั่งอเมริกามักจะเรียกว่า Summer Time ซึ่งก็มีความหมายเดียวกัน คือ การปรับเวลาท้องถิ่นให้เข้ากับสภาพกลางวันกลางคืน โดยประเทศในแถบเมืองหนาวนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน กลางวันจะยาวนานขึ้น จึงมีการปรับเวลาท้องถิ่นให้มีกลางวันยาวนานกว่าเดิม โดยในช่วงฤดูร้อนนั้น จะขยับเวลาให้เร็วขึ้นมา 1 ชั่วโมง และในโซนออสเตรเลียจะปรับให้เร็วขึ้น ครึ่งชั่วโมง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจนย่างเข้าหน้าหนาว จะมีการปรับเวลาให้กลับมาเป็นเวลาปกติเหมือนเดิม ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่ใช้กฏนี้ มักจะใช้ในประเทศที่มีอยู่ในละติจูดมากกว่าแนว 23.5 เหนือ/ใต้
ทำไมถึงต้องนับเวลาแบบ DST
เนื่องจากช่วงฤดูร้อน ระยะเวลากลางวันนานกว่าระยะเวลากลางคืน คือ สว่างเร็วกว่าปกติ และค่ำช้ากว่าปกติ ซึ่งตามปกติแล้วคนเรามักตื่นขึ้นมาตอนอาทิตย์ขึ้น และใช้เวลาในช่วงกลางวันและการนอนเป็นจำนวนชั่วโมงเท่าเดิม หากยังยึดตามเวลาปกติ ฟ้ายังไม่มืด คนก็จะใช้เวลากลางวันมาก นอนช้าลง การปรับเวลานี้จึงทำเพื่อให้ร่างกายปรับตัวตามพระอาทิตย์ขึ้น และยังช่วยประหยัดไฟฟ้าในการใช้งานในเวลากลางวันยาวนาน การเข้านอนเร็วขึ้น ก็จะใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย ดังนั้น การปรับเวลาแบบ DST จึงทั้งช่วยประหยัดไฟ และให้นอนตามเวลาที่ควรต้องนอน
จำเป็นไหม จะต้องเปลี่ยนเวลาให้เป็นแบบ DST
การที่เราเดินทางไปยังประเทศที่เค้าใช้เวลาแบบ DST พอดี เราจะไม่เปลี่ยนเวลาตามเค้าก็ไม่แปลก เพราะจริงๆ ก็เปลี่ยนแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น แต่อาจต้องทำความเข้าใจในการนัดเวลาให้ตรงกัน เพราะเวลานัดหมายอาจคลาดเคลื่อนได้ แต่ถ้าปรับเวลาตามเค้า จะได้ใช้ชีวิตแบบกลางวันยาวนานขึ้น และเป็นเวลาที่ตรงตามวิถีชีวิตของคนที่นั่น เพราะยังไงเราไปต่างประเทศก็ต้องยึดเวลาตามบ้านเมืองเค้าอยู่แล้ว ปรับให้ตรงกับพื้นที่นั้นๆ ก็จะดีกว่า
รวมสูตรฉีดวัคซีน 13 ประเทศ ก่อนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ต้องดู ?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้