ค้นหาบทความ:

Q&A ถาม-ตอบ เกี่ยวกับ Non-Immigrant Visa “O”

ชาวต่างชาติได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-O จากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพื่ออุปการะคู่สมรสหรือบุตร, หรือเพื่อเยี่ยมคู่สมรสหรือบุตรที่มีสัญชาติไทย หากเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และต้องการอยู่ต่อ การขออยู่ต่อครั้งแรกต้องเป็นเหตุผลและวัตถุประสงค์เดียวกันกับประเภทวีซ่าที่ได้รับมาข้างต้น

สำหรับการขอต่ออายุวีซ่าชั่วคราวประเภทอื่นๆ (Non-O Visa Extension) ซึ่งเป็นการขออยู่ต่อในประเทศไทย ของผู้ติดตามชาวต่างชาติที่มีความประสงค์จะติดตามครอบครัวที่มาทำงานหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการติดตามสามี/ภรรยา การติดตามคนในครอบครัวที่มาทำงานในประเทศไทย ล้วนแล้วแต่ต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้องทั้งสิ้น

สำหรับผู้ติดตาม (Dependent) จำเป็นจะต้องขอวีซ่าผู้ติดตามประเภท Non-Immigrant O (Dependent) Visa ก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ แต่จะดำเนินการอย่างไร และใครที่สามารถขอวีซ่าผู้ติดตามได้ วันนี้เรามีคำถาม - คำตอบ เกี่ยวกับ Non-O Visa สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาไทยโดยเฉพาะค่ะ

Q : ผู้ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภท  Non- Immigrant “O” ติดตามครอบครัว มีใครบ้าง?

A : ผู้ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้ได้ได้แก่บุคคล 3 กลุ่ม ดังนี้
     1.ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทย / อุปการะบุตรคนไทย
     2.ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าประเภท Non- Immigrant "B" ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย
     3.ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าเกษียณ ซึ่งอายุต่ำกว่า 50 ปี

Q : พ่อตา แม่ยาย สามารถยื่นติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจ ได้หรือไม่?

A : พ่อตา แม่ยาย ไม่สามารถยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อติดตามลูกเขยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงาน หรือทำธุรกิจแล้ว ได้เนื่องจากไม่มีระบุไว้ในหลักเกณฑ์

Q : กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส) มีหลักเกณฑ์การพิจารณาวีซ่าอย่างไรบ้าง?

A : หลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
     1.คนต่างชาติต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
     2.มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
     3.กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทาง นิตินัยและพฤตินัย หรือ
     4.กรณีบุตร / บุตรบุญธรรม / บุตรของคู่สมรส ที่อยู่ในความอุปการะนั้น บุตร/บุตรบุญธรรม/บุตรของคู่สมรส ต้องยังไม่ได้สมรสและอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ หรือ
     5.กรณีบิดาหรือมารดา ชาวต่างชาติที่บิดาหรือมารดาต้องการติดตามนั้น ต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี
     6.กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายสามีซึ่งเป็น คนต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี

Q : กรณีใช้ชีวิตในปั้นปลาย มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง?

A : หลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
     1.คนต่างชาติต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
     2.มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
     3.มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท ณ วันยื่นคำขอมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) และเงินคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคาร คำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท นับถึงวันยื่นคำขอ

Q : วีซ่าผู้ติดตามประเภท Non- Immigrant “O” สามารถขอได้เมื่อไหร่?

A : 1.การขอวีซ่าครั้งแรก ผู้ติดตามครอบครัวจะได้รับวีซ่าเข้าครั้งเดียวมีอายุ 90 วัน ออกโดยสถานเอกอัครราชฑูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศที่ผู้ติดตามนั้นถือสัญชาติอยู่
     2.การขอต่อวีซ่าครั้งต่อไป ผู้ติดตามจะต้องยื่นล่วงหน้าก่อนอายุวีซ่าหมดอย่างน้อย 21 วัน โดยจะขอขยายเวลาการพักอาศัยได้สูงสุด 1 ปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ในระหว่างที่รอผลพิจารณา สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยไปพลางๆ ก่อน

Q : ชาวต่างชาติที่เดินทางกลับประเทศตัวเอง และมี Non-O Retirement แต่หมดอายุที่ต่างประเทศ ต้องการต่อวีซ่า Non-O Retirement สามารถทำอย่างไรได้บ้าง?

A : หากวีซ่าหมดอายุที่ต่างประเทศต้องดำเนินการขอวีซ่าใหม่ จะไม่สามารถขอต่ออายุได้ค่ะ
โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.ทำ Non-O Retirement จากประเทศตัวเองเข้ามาไทยเลย โดยเข้ามาไทยแล้วจะต้องไปต่อวีซ่าอีกครั้ง
2.ทำ Tourist Visa เข้ามาไทยก่อนแล้วมาเปลี่ยนเป็น Non-O Retirement ที่ไทยได้ โดยจะต้องมีเงินฝากในบัญชี 800,000 บาทตามเงื่อนไขของวีซ่า

Q : ถ้าชาวต่างชาติไม่มีเงินฝากในบัญชี (ตามเงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท) แต่มีที่ทำงานในไทย ต้องทำอย่างไร?

A : 1.ต้องมีใบอนุญาตทำงาน
     2.ต้องแสดงหนังสือรับรองจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ประเภทของงานตำแหน่งตามใบอนุญาตทำงาน และเงินเดือน(เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000บาท) ลงนามโดยผู้มีอำนาจ
     3.ต้องแสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้รับรองโดยสรรพากร พร้อมใบเสร็จรับเงิน(ภงด.1 ย้อนหลัง 3 เดือน และภงด.91 ในรอบปีที่ผ่านมา)
     4.ต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท(บอจ.5) ฉบับจริง(ไม่เกิน6เดือน)

Q : จะขอต่ออายุวีซ่าผู้ติดตาม Non-O จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

A : -แบบคำขอต่ออายุวีซ่า ตม.7
     -รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. หรือขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
     -หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (แสดงเล่มจริง) พร้อมสำเนาทุกหน้า
     -สำเนาใบอนุญาตทำงาน(Work permit)ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ (แสดงเล่มจริงพร้อมทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ)
     -สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Q : ผู้ที่ถือ Non-O Visa สามารถทำงานได้หรือไม่?

A : ชาวต่างชาติที่ถือ Non-O Visa ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยตามกฎหมาย หากมีความประสงค์ที่จะทำงาน จะต้องขอรับ Non-B Visa และต้องมีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น

Q : ผู้ที่ถือ Non-O Visa สามารถเปลี่ยนประเภทได้หรือไม่?

A : ไม่สามารถเปลี่ยนประเภท เนื่องจากเป็นเงื่อนไขที่กำหนดของ Non-O Visa

 

Q : ผู้ที่ถือ Non-O Volunteer เมื่อวีซ่าใกล้หมดอายุแล้ว สามารถเปลี่ยนประเภทได้หรือไม่?

A : Non-O Volunteer มีอายุอยู่ได้ 1 ปี ไม่สามารถเปลี่ยนประเภทหรือต่อวีซ่าได้ เมื่อครบ 1 ปีแล้ว ต้องเดินทางกลับประเทศเท่านั้น

Q : Non-O Visa กรณีที่คู่สมรสนั้นมีการหย่าร้าง จะเป็นอย่างไร?

A : Non-O Visa จะถูกยกเลิกและจะต้องเดินทางออกจากประเทศทันที

Q : ชาวต่างชาติที่ถือ Non-O Visa กรณีที่ได้รับวีซ่าแบบ 1 ปี จำเป็นจะต้องยื่นแบบรายงานตัวหรือไม่?

A : จำเป็นจะต้องยื่นแบบรายงานตัว ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก 90 วัน

Q : ชาวต่างชาติที่ถือ Non-O Visa กรณีที่มีความจำเป็นต้องออกนอกประเทศไทย โดยต้องการรักษาสิทธิเดิมที่ได้รับอนุญาตหากกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง จะต้องทำอย่างไร?

A : หากต้องการจะเดินทางออกไปต่างประเทศแล้วกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง โดยต้องการรักษาสิทธิเดิมที่ได้รับอนุญาต จะต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในประเทศไทย (Thailand Re-Entry Permit) ก่อนเดินทางออกไป
ซึ่งการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในประเทศไทย (Thailand Re-Entry Permit) สามารถทำได้ 2 แบบดังนี้
    -แบบ Single Re-Entry สามารถใช้เดินทางได้ครั้งต่อครั้ง เหมาะกับผู้ที่เดินทางออกไปต่างประเทศไม่บ่อย หรือมีอายุวีซ่าเหลืออยู่น้อย
    -แบบ Multiple Re-Entry สามารใช้เดินทางได้มากกว่า 1 ครั้ง เหมาะกับผู้ที่เดินทางออกไปต่างประเทศบ่อยครั้ง หรือมีอายุวีซ่าเหลืออยู่นาน
ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดไว้


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Work Permit & VISA consultancy


Q&A About Non-Immigrant Visa O

关于非移类O签证问答集Q&A

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

ชมวิวทะเล อิงแอบธรรมชาติ Soneva Kiri เกาะกูด

ความหรูหรามีระดับกับการพักผ่อนแนบชิดธรรมชาติแบบขั้นสุด บินสู่ที่พักด้วยเครื่องบินส่วนตัว ที่ Soneva Kiri รีสอร์ทหรูสุด Luxury ที่เกาะกูด จังหวัดตราด รีสอร์ทที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ สูดอากาศสดชื่นให้เต็มปอดในทั่วทุกอณูที่อยู่ที่นี่

ชาวต่างชาติมีเฮ! ใบอนุญาตทำงาน ที่ไทย และ วีซ่าธุรกิจ มีคนช่วยทำแล้ว

ชาวต่างชาติมีเฮ! ใบอนุญาตทำงาน ที่ไทย และ วีซ่าธุรกิจ มีคนช่วยทำแล้ว ทำ Work Permit & Visa Non-B ของประเทศไทยยากไหม? Wonderful Package มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำและมีบริการ บริษัทรับทำ Work Permit & Visa Non-B ให้กับทุกท่าน

The World's Best Airports of 2022 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก จาก SKYTRAX

แพลนเดินทางกันล่วงหน้า เช็ครายชื่อสนามบินกันก่อน เป็นการจัดลำดับเป็นประจำทุกปีจาก SKYTRAX ที่จะมาบอกว่าสนามบินใดเป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลก โดยได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งในปี 2022 นี้จะมีอันดับปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง มาดูกัน

มารู้จัก ภงด.90 และ ภงด.91 กันดีกว่า

ผู้ที่ต้องชำระภาษี จะต้องมีการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานการเสียภาษีตามกฎหมาย สำหรับแบบยื่นภาษีนั้น เราจะเรียกว่า "ภ.ง.ด." ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ ซึ่งการยื่นแบบภาษีแต่ละชนิด จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ใบขออนุญาตทำงานใกล้หมดอายุแล้ว แต่ผู้ขอยื่นยังอยู่ต่างประเทศต้องทำอย่างไร

จากเหตุการณ์ปิดประเทศทั่วโลกเพราะโควิด-19 ระบาด รวมถึงประเทศไทยด้วย ชาวต่างชาติที่ต้องการต่ออายุ Work Permit และ Non-B Visa เพราะใกล้หมดอายุ แต่ตอนนี้ยังอยู่ต่างประเทศไม่สามารถเข้าประเทศไทยได้จะทำอย่างไรดี?

มารู้จักชื่อเรียกต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Passport, Visa, Work Permit กันดีกว่า..

หลายคนเคยสงสัยและสับสนกับวิธีเรียกชื่อประเภทต่างๆ ของ Passport, Visa, Work Permit ไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวต่างชาติหรือคนไทย ซึ่งรู้ไหมว่าแต่ละตัวมีหลายประเภทมากเลย ใช้งานก็แตกต่างกัน แถมยังมีหลายชื่อเรียกอีกต่างหาก แล้วชาวต่างชาติที่อยากเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องใช้วีซ่าประเภทไหน

วีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงาน ใช่แบบเดียวไหมนะ?

หลายๆ คนคงอาจจะเคยสงสัย และสับสนชื่อเรียกระหว่าง วีซ่าทำงานกับใบอนุญาตทำงาน ว่าคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยว่า 2 อย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อชาวต่างชาติจะต้องเข้ามาทำงานในประเทศไทย

วิธีขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์ นครศรีธรรมราช

นาทีนี้ไม่ต้องพูดถึงเสียงร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และความแม่นในการให้โชคลาภของไอ้ไข่วัดเจดีย์ ทั้งเรื่องขอหวย หรือขอให้ค้าขายร่ำรวย รวมไปถึงการเช่าไปบูชาไปอีก วันนี้เราเลยจะมาแนะวิธีขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์ นครศรีธรรมราช ว่าเขาทำกันอย่างไร จะได้ทำได้อย่างถูกต้อง

จะขอ Visa Non-B และ Work Permit ต้องใช้แบบฟอร์มอะไรบ้าง?

เคยไหม.. อยากได้ Visa Non-B และ Work Permit แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี หากูเกิ้ลก็แล้ว พันทิปก็แล้ว มีหลายแบบฟอร์มให้เลือกกรอกเยอะแยะมากมาย..ดูจนตาลาย ไม่รู้จะใช้แบบฟอร์มถูกไหม เชิญทางนี้ค่ะ Wonderful Package ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นตารางมาให้ทุกท่านเลือกใช้

Q&A ถาม-ตอบ เกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน (Work permit)

สำหรับใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรของการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ต่ออายุวีซ่าทำงาน เปลี่ยนประเภทวีซ่าทำงาน ในประเทศไทยสำหรับคนต่างชาติ

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!