ค้นหาบทความ:

BOI คืออะไร? เหตุใดนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติจึงสนใจทำธุรกิจใน BOI?

BOI นักลงทุน

มีนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจกับการทำธุรกิจในประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากประเทศไทยเรามีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากร ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ที่ตั้งเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะการขนส่งและการคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ มีแรงงานทักษะฝีมือคุณภาพจำนวนมาก มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพทั้งปริมาณและคุณภาพ มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะสร้างกำไรและผลตอบแทนหลายๆ อย่างให้กับนักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศไทยแล้ว

ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กับนักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจในประเทศไทย และเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนมากขึ้นไปอีก

BOI คืออะไร??

BOI ย่อมาจาก Board of Investment คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการลงทุนให้กับกิจการที่อยู่ใน BOI เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย โดยการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการลงทุนและเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ช่วยให้คำปรึกษาและบริการในการลงทุน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งบริษัทที่จะเข้าร่วม BOI ได้ต้องผ่านหลักเกณฑ์และตรงตามเงื่อนไขของ BOI เท่านั้น

ศึกษาหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนได้ที่ https://bit.ly/3dAWDdt

บริการหลักของ BOI

  1. ให้คำปรึกษาแนะนำ ข้อมูลด้านการลงทุน และขอรับส่งเสริมการลงทุน
  2. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
  3. เชื่อมโยงและจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
  4. การจัดหาผู้ร่วมทุน
  5. แนะนำและรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC)
  6. แนะนำการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ และจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ

ประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน มี 8 หมวด ดังนี้

หมวด ประเภทกิจการ ตัวอย่างกิจการ
1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร การผลิตแป้งแปรรูป การผลิตอาหารทางการแพทย์
2 แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน กิจการสำรวจแร่ กิจการผลิตแก้ว เซรามิกส์ ท่อเหล็ก วัสดุก่อสร้าง
3 อุตสาหกรรมเบา การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน การผลิตของเล่น การผลิตสิ่งทอ
4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง การผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วน การผลิตเครื่องยนต์
5 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการซอฟต์แวร์ กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
6 เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ กิจการผลิตยา กิจการผลิตสิ่งพิมพ์ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากกระดาษ
7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน กิจการขนส่งมวลชน การบริการทางการแพทย์ กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
8 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจการพัฒนา Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology, Digital Technology

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3gZRLAX

กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน แบ่งเป็น 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ

หมวด กลุ่มอุตสาหกรรม ประเภทกิจการ
1 กลุ่มการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์

อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร         
อุตสาหกรรมการแพทย์                                                            
อุตสาหกรรมชีวภาพ

2 กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
อุตสาหกรรมเครื่่องจักรกล
อุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

3 กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน
อุตสาหกรรมแร่ โลหะ และวัสดุ
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี
อุตสาหกรรมกระดาษ
อุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม

4 กลุ่มดิจิทัล สร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง  
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
อุตสาหกรรมดิจิทัล
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
อุตสาหกรรมบริการเฉพาะทาง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมบริการอื่นๆ

5 กลุ่มวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย  กิจการวิจัยและพัฒนา
พัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ประกอบด้วย
กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมา

การขอรับ BOI มี 8 ขั้นตอน

1. ศึกษาข้อมูล

  • ผู้ขอรับ BOI ศึกษาข้อมูลผ่านทาง www.boi.go.th หรือ BOI ส่วนกลาง ภูมิภาค สำนักงานต่างประเทศ

2. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (ยื่น Online เท่านั้น)

  • ผู้ขอรับ BOI ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th

3. ชี้แจงโครงการ

  • ผู้ขอรับ BOI นัดหมายเจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อชี้แจงโครงการ ภายใน 10 วันทำการ นับตั้งแต่วันยื่นคำขอ

4. วิเคราะห์โครงการ

  • เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการวิเคราะห์โครงการ โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาตามขนาดการลงทุน

5. แจ้งผลการพิจารณา

  • เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการแจ้งผลพิจารณา ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่รับรองรายงานการประชุม

6. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน

  • ผู้ขอรับ BOI ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งมติ ได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านระบบ e-Investment Promotion หรือยื่นแบบตอบรับมติ BOI (แบบฟอร์ม F GA CT 07)

7. ขอรับบัตรส่งเสริม

  • ผู้ได้รับ BOI ยื่นขอรับ "บัตรส่งเสริม" พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือน ได้ 2 ช่องทาง คือ กรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th หรือกรอกแบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม (แบบฟอร์มF GA CT 08) พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการออกบัตร

8. ออกบัตรส่งเสริม

  • เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการออก "บัตรส่งเสริม" ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์มขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐานครบถ้วน

ข้อมูลอื่นๆ

  • ขั้นตอนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน https://bit.ly/2XXJKUc
  • ยื่นผ่านระบบสนับสนุนการลงทุน (e-Investment Promotion) https://bit.ly/3gV6nBi
  • แบบตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน F GA CT 07  https://bit.ly/3ctfSUR
  • แบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม F GA CT 08  https://bit.ly/303lzqa

กิจการใน BOI ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง??

1. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี (ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น)
  • ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าวัตถุดิบ
  • ยกเว้น อากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา

2. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร

  • อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% (ยกเว้นกิจการที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
  • อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เป็นช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในไทยได้
  • อนุญาตให้ครอบครัวติดตามพนักงานต่างชาติเข้ามาไทยได้ (พ่อแม่ คู่สมรส ลูก)
  • อนุญาตให้ชาวต่างชาติส่งเงินหรือโอนเงินไปต่างประเทศได้

การอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง?

  1. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ
  2. การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  3. มีเงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ

ทั้งนี้ การนำบริษัทเข้า BOI นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบในการจัดเตรียมเอกสาร การตรวจสอบเงื่อนไขว่ากิจการตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ทาง BOI กำหนดหรือไม่ หากตรงตามที่ BOI กำหนด และเอกสารครบถ้วนก็สามารถยื่นคำขอได้เลย การขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะได้ช่วยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายที่ดีต่อธุรกิจแน่นอน 

ตรวจสอบการยื่นคำขอรับการส่งเสริม ได้ที่่ https://bit.ly/36Y6CXS


หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ พ.ศ. 2563

1. โครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.1 ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
1.2 ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
1.3 ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ กรณีใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีทั่วไป กรณีย้ายฐานการผลิต และกรณีอื่นๆ
**** หมายเหตุ

  1. คำว่า “ย้ายฐานการผลิต” หมายถึง การย้ายสายการผลิตบางส่วนหรือทั้งหมดมาจากต่างประเทศ เครื่องจักรจะต้องเป็นของบริษัทในเครือหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกัน
    1. ใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร หมายถึง ใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ในการรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร ต้องระบุรายละเอียด 6 ประการคือ
      1) รายละเอียดของการปรับปรุงซ่อมแซมและผลการวิเคราะห์อายุการใช้งานที่เหลืออยู่
      2) ปีที่ผลิต
      3) ผลของการทดสอบเดินเครื่อง
      4) รายงานการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานความปลอดภัย และการใช้พลังงาน
      5) การประเมินราคาที่เหมาะสม
      6) รายงานการตรวจสอบ วันที่ และสถานที่ที่ทำการตรวจสอบ * เครื่องบินในกิจการขนส่งทางอากาศจะต้องมีอายุไม่เกิน 14 ปี

1.4 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องมีรับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ  **หากไม่จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

1.5 สำหรับกิจการที่ได้รับสัมปทาน และกิจการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการจะใช้แนวทางการพิจารณาดังนี้
      1) โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จะไม่อยู่ในข่ายที่ จะได้รับการส่งเสริม
      2) โครงการที่ได้รับสัมปทานที่เอกชนดำเนินการ โดยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ (Build Transfer Operate หรือ Build Operate Transfer) หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการดังกล่าว ต้องเสนอโครงการให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล และในขั้นการประมูลต้องมีประกาศระบุโดยชัดเจนว่าเอกชนจะได้รับสิทธิและประโยชน์ใดบ้าง คณะกรรมการจะไม่ให้การส่งเสริมกรณีเอกชนต้องจ่ายผลตอบแทนให้แก่รัฐในการรับสัมปทาน เว้นแต่เป็นผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลกับการลงทุนที่รัฐใช้ไปในโครงการนั้้น
      3) โครงการของรัฐที่ให้เอกชนลงทุนและเป็นเจ้าของ (Build Own Operate) รวมทั้งให้เอกชนเช่าหรือบริหาร โดยจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในลักษณะค่าเช่า คณะกรรมการจะพิจารณาให้การส่งเสริม ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป
      4) การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด จะขอรับการส่งเสริมได้เฉพาะส่วนที่ลงทุนเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป

2. การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.1 ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมี ประสิทธิภาพ
2.2 กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
2.3 โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง

         3. เงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ
3.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
*** เว้นแต่กรณีในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี
3.2 ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
3.3 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 750 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

  1. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
  2. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งหมดได้** เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
  3. เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • BOI
  • Pro Ind Solutions
  • สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) :https://www.boi.go.th/index.php?page=guides

บริการ Work Permit & VISA


What is BOI?  Why are Thai and foreign investors interested in doing business in the BOI?

BOI是什么?为何泰国和外国投资者想在BOI 开展业务?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

จะขอ Visa Non-B และ Work Permit ต้องใช้แบบฟอร์มอะไรบ้าง?

เคยไหม.. อยากได้ Visa Non-B และ Work Permit แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี หากูเกิ้ลก็แล้ว พันทิปก็แล้ว มีหลายแบบฟอร์มให้เลือกกรอกเยอะแยะมากมาย..ดูจนตาลาย ไม่รู้จะใช้แบบฟอร์มถูกไหม เชิญทางนี้ค่ะ Wonderful Package ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นตารางมาให้ทุกท่านเลือกใช้

The World's Best Airports of 2022 สนามบินที่ดีที่สุดในโลก จาก SKYTRAX

แพลนเดินทางกันล่วงหน้า เช็ครายชื่อสนามบินกันก่อน เป็นการจัดลำดับเป็นประจำทุกปีจาก SKYTRAX ที่จะมาบอกว่าสนามบินใดเป็นสนามบินที่ดีที่สุดในโลก โดยได้รับการโหวตจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งในปี 2022 นี้จะมีอันดับปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง มาดูกัน

มารู้จักชื่อเรียกต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Passport, Visa, Work Permit กันดีกว่า..

หลายคนเคยสงสัยและสับสนกับวิธีเรียกชื่อประเภทต่างๆ ของ Passport, Visa, Work Permit ไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวต่างชาติหรือคนไทย ซึ่งรู้ไหมว่าแต่ละตัวมีหลายประเภทมากเลย ใช้งานก็แตกต่างกัน แถมยังมีหลายชื่อเรียกอีกต่างหาก แล้วชาวต่างชาติที่อยากเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องใช้วีซ่าประเภทไหน

มารู้จัก ภงด.90 และ ภงด.91 กันดีกว่า

ผู้ที่ต้องชำระภาษี จะต้องมีการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานการเสียภาษีตามกฎหมาย สำหรับแบบยื่นภาษีนั้น เราจะเรียกว่า "ภ.ง.ด." ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ ซึ่งการยื่นแบบภาษีแต่ละชนิด จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน

Q&A ถาม-ตอบ เกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน (Work permit)

สำหรับใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรของการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ต่ออายุวีซ่าทำงาน เปลี่ยนประเภทวีซ่าทำงาน ในประเทศไทยสำหรับคนต่างชาติ

การขอวีซ่าอินเดีย Visa India มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนอย่างไร?

คนไทยเที่ยวอินเดีย อย่าลืมขอวีซ่าอินเดียก่อนเดินทาง แต่หากคุณไม่อยากเดินทางไปสถานทูตหรือศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า ใช้บริการรับยื่นออนไลน์ผ่าน Wonderful Package สิคะ เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ แค่คลิกเดียว

ชมวิวทะเล อิงแอบธรรมชาติ Soneva Kiri เกาะกูด

ความหรูหรามีระดับกับการพักผ่อนแนบชิดธรรมชาติแบบขั้นสุด บินสู่ที่พักด้วยเครื่องบินส่วนตัว ที่ Soneva Kiri รีสอร์ทหรูสุด Luxury ที่เกาะกูด จังหวัดตราด รีสอร์ทที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ สูดอากาศสดชื่นให้เต็มปอดในทั่วทุกอณูที่อยู่ที่นี่

ชาวต่างชาติมีเฮ! ใบอนุญาตทำงาน ที่ไทย และ วีซ่าธุรกิจ มีคนช่วยทำแล้ว

ชาวต่างชาติมีเฮ! ใบอนุญาตทำงาน ที่ไทย และ วีซ่าธุรกิจ มีคนช่วยทำแล้ว ทำ Work Permit & Visa Non-B ของประเทศไทยยากไหม? Wonderful Package มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำและมีบริการ บริษัทรับทำ Work Permit & Visa Non-B ให้กับทุกท่าน

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ใบขออนุญาตทำงานใกล้หมดอายุแล้ว แต่ผู้ขอยื่นยังอยู่ต่างประเทศต้องทำอย่างไร

จากเหตุการณ์ปิดประเทศทั่วโลกเพราะโควิด-19 ระบาด รวมถึงประเทศไทยด้วย ชาวต่างชาติที่ต้องการต่ออายุ Work Permit และ Non-B Visa เพราะใกล้หมดอายุ แต่ตอนนี้ยังอยู่ต่างประเทศไม่สามารถเข้าประเทศไทยได้จะทำอย่างไรดี?

วิธีขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์ นครศรีธรรมราช

นาทีนี้ไม่ต้องพูดถึงเสียงร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และความแม่นในการให้โชคลาภของไอ้ไข่วัดเจดีย์ ทั้งเรื่องขอหวย หรือขอให้ค้าขายร่ำรวย รวมไปถึงการเช่าไปบูชาไปอีก วันนี้เราเลยจะมาแนะวิธีขอพรไอ้ไข่วัดเจดีย์ นครศรีธรรมราช ว่าเขาทำกันอย่างไร จะได้ทำได้อย่างถูกต้อง

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!