BOI คืออะไร? เหตุใดนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างชาติจึงสนใจทำธุรกิจใน BOI?
มีนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจกับการทำธุรกิจในประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากประเทศไทยเรามีข้อได้เปรียบอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากร ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ที่ตั้งเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน โดยเฉพาะการขนส่งและการคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ มีแรงงานทักษะฝีมือคุณภาพจำนวนมาก มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพทั้งปริมาณและคุณภาพ มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะสร้างกำไรและผลตอบแทนหลายๆ อย่างให้กับนักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศไทยแล้ว
ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้กับนักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจในประเทศไทย และเพิ่มความน่าดึงดูดให้กับนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนมากขึ้นไปอีก
BOI คืออะไร??
BOI ย่อมาจาก Board of Investment คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการลงทุนให้กับกิจการที่อยู่ใน BOI เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย โดยการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการลงทุนและเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ช่วยให้คำปรึกษาและบริการในการลงทุน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งบริษัทที่จะเข้าร่วม BOI ได้ต้องผ่านหลักเกณฑ์และตรงตามเงื่อนไขของ BOI เท่านั้น
ศึกษาหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนได้ที่ https://bit.ly/3dAWDdt
บริการหลักของ BOI
- ให้คำปรึกษาแนะนำ ข้อมูลด้านการลงทุน และขอรับส่งเสริมการลงทุน
- ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน
- เชื่อมโยงและจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
- การจัดหาผู้ร่วมทุน
- แนะนำและรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC)
- แนะนำการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ และจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ
ประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน มี 8 หมวด ดังนี้
หมวด |
ประเภทกิจการ |
ตัวอย่างกิจการ |
1 |
เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร |
การผลิตแป้งแปรรูป การผลิตอาหารทางการแพทย์ |
2 |
แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นพื้นฐาน |
กิจการสำรวจแร่ กิจการผลิตแก้ว เซรามิกส์ ท่อเหล็ก วัสดุก่อสร้าง |
3 |
อุตสาหกรรมเบา |
การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน การผลิตของเล่น การผลิตสิ่งทอ |
4 |
ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง |
การผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์และชิ้นส่วน การผลิตเครื่องยนต์ |
5 |
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า กิจการซอฟต์แวร์ กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ |
6 |
เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ |
กิจการผลิตยา กิจการผลิตสิ่งพิมพ์ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากกระดาษ |
7 |
กิจการบริการและสาธารณูปโภค |
กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน กิจการขนส่งมวลชน การบริการทางการแพทย์ กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว |
8 |
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม |
กิจการพัฒนา Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology, Digital Technology |
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3gZRLAX
กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน แบ่งเป็น 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ
หมวด |
กลุ่มอุตสาหกรรม |
ประเภทกิจการ |
1 |
กลุ่มการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ และการแพทย์ |
อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ
|
2 |
กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง |
อุตสาหกรรมเครื่่องจักรกล อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
|
3 |
กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน |
อุตสาหกรรมแร่ โลหะ และวัสดุ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม
|
4 |
กลุ่มดิจิทัล สร้างสรรค์ และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง |
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมดิจิทัล การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมบริการเฉพาะทาง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการอื่นๆ
|
5 |
กลุ่มวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย |
กิจการวิจัยและพัฒนา พัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ประกอบด้วย กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมา |
การขอรับ BOI มี 8 ขั้นตอน
1. ศึกษาข้อมูล
- ผู้ขอรับ BOI ศึกษาข้อมูลผ่านทาง www.boi.go.th หรือ BOI ส่วนกลาง ภูมิภาค สำนักงานต่างประเทศ
2. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน (ยื่น Online เท่านั้น)
- ผู้ขอรับ BOI ยื่นคำขอผ่านระบบ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th
3. ชี้แจงโครงการ
- ผู้ขอรับ BOI นัดหมายเจ้าหน้าที่ BOI ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อชี้แจงโครงการ ภายใน 10 วันทำการ นับตั้งแต่วันยื่นคำขอ
4. วิเคราะห์โครงการ
- เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการวิเคราะห์โครงการ โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาตามขนาดการลงทุน
5. แจ้งผลการพิจารณา
- เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการแจ้งผลพิจารณา ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่รับรองรายงานการประชุม
6. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน
- ผู้ขอรับ BOI ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งมติ ได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านระบบ e-Investment Promotion หรือยื่นแบบตอบรับมติ BOI (แบบฟอร์ม F GA CT 07)
7. ขอรับบัตรส่งเสริม
- ผู้ได้รับ BOI ยื่นขอรับ "บัตรส่งเสริม" พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือน ได้ 2 ช่องทาง คือ กรอกแบบฟอร์มผ่านระบบ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th หรือกรอกแบบประกอบการขอรับบัตรส่งเสริม (แบบฟอร์มF GA CT 08) พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการออกบัตร
8. ออกบัตรส่งเสริม
- เจ้าหน้าที่ BOI ดำเนินการออก "บัตรส่งเสริม" ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่สำนักงานได้รับแบบฟอร์มขอรับบัตรส่งเสริมและหลักฐานครบถ้วน
ข้อมูลอื่นๆ
กิจการใน BOI ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง??
1. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 13 ปี (ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไข)
- ลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% อีก 5 ปี (เฉพาะเขตส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น)
- ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้น/ลดหย่อน อากรขาเข้าวัตถุดิบ
- ยกเว้น อากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา
2. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร
- อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% (ยกเว้นกิจการที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ)
- อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- อนุญาตให้ชาวต่างชาติที่เป็นช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในไทยได้
- อนุญาตให้ครอบครัวติดตามพนักงานต่างชาติเข้ามาไทยได้ (พ่อแม่ คู่สมรส ลูก)
- อนุญาตให้ชาวต่างชาติส่งเงินหรือโอนเงินไปต่างประเทศได้
การอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง?
- การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ
- การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- มีเงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ
ทั้งนี้ การนำบริษัทเข้า BOI นั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบในการจัดเตรียมเอกสาร การตรวจสอบเงื่อนไขว่ากิจการตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ทาง BOI กำหนดหรือไม่ หากตรงตามที่ BOI กำหนด และเอกสารครบถ้วนก็สามารถยื่นคำขอได้เลย การขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะได้ช่วยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายที่ดีต่อธุรกิจแน่นอน
ตรวจสอบการยื่นคำขอรับการส่งเสริม ได้ที่่ https://bit.ly/36Y6CXS
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ พ.ศ. 2563
1. โครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
1.2 ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
1.3 ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ กรณีใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศจะมีหลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 3 กรณี คือ กรณีทั่วไป กรณีย้ายฐานการผลิต และกรณีอื่นๆ
**** หมายเหตุ
- คำว่า “ย้ายฐานการผลิต” หมายถึง การย้ายสายการผลิตบางส่วนหรือทั้งหมดมาจากต่างประเทศ เครื่องจักรจะต้องเป็นของบริษัทในเครือหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกัน
- ใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร หมายถึง ใบรับรองจากสถาบันที่เชื่อถือได้ในการรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร ต้องระบุรายละเอียด 6 ประการคือ
1) รายละเอียดของการปรับปรุงซ่อมแซมและผลการวิเคราะห์อายุการใช้งานที่เหลืออยู่
2) ปีที่ผลิต
3) ผลของการทดสอบเดินเครื่อง
4) รายงานการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาตรฐานความปลอดภัย และการใช้พลังงาน
5) การประเมินราคาที่เหมาะสม
6) รายงานการตรวจสอบ วันที่ และสถานที่ที่ทำการตรวจสอบ * เครื่องบินในกิจการขนส่งทางอากาศจะต้องมีอายุไม่เกิน 14 ปี
1.4 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องมีรับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า ภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ **หากไม่จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
1.5 สำหรับกิจการที่ได้รับสัมปทาน และกิจการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการจะใช้แนวทางการพิจารณาดังนี้
1) โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จะไม่อยู่ในข่ายที่ จะได้รับการส่งเสริม
2) โครงการที่ได้รับสัมปทานที่เอกชนดำเนินการ โดยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ (Build Transfer Operate หรือ Build Operate Transfer) หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการดังกล่าว ต้องเสนอโครงการให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล และในขั้นการประมูลต้องมีประกาศระบุโดยชัดเจนว่าเอกชนจะได้รับสิทธิและประโยชน์ใดบ้าง คณะกรรมการจะไม่ให้การส่งเสริมกรณีเอกชนต้องจ่ายผลตอบแทนให้แก่รัฐในการรับสัมปทาน เว้นแต่เป็นผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลกับการลงทุนที่รัฐใช้ไปในโครงการนั้้น
3) โครงการของรัฐที่ให้เอกชนลงทุนและเป็นเจ้าของ (Build Own Operate) รวมทั้งให้เอกชนเช่าหรือบริหาร โดยจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในลักษณะค่าเช่า คณะกรรมการจะพิจารณาให้การส่งเสริม ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป
4) การแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด จะขอรับการส่งเสริมได้เฉพาะส่วนที่ลงทุนเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ทั่วไป
2. การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.1 ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมี ประสิทธิภาพ
2.2 กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
2.3 โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง
3. เงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ
3.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
*** เว้นแต่กรณีในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี
3.2 ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
3.3 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 750 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้
- โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
- โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งหมดได้** เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
- เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
- BOI
- Pro Ind Solutions
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) :https://www.boi.go.th/index.php?page=guides
What is BOI? Why are Thai and foreign investors interested in doing business in the BOI?
BOI是什么?为何泰国和外国投资者想在BOI 开展业务?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้