ค้นหาบทความ:

มองซาย เครื่องดนตรีของพม่า

 

เครื่องดนตรีพม่า ว่าด้วย “มองซาย

เครื่องดนตรี “มองซาย” ของพม่านี้หากจะบัญญัติศัพท์ให้เป็นไทยก็น่าจะเรียกได้ว่า “โหม่งราง” หรือ “โหม่งแผง" เพราะจุดกำเนิดเสียงอยู่ที่การนำเอา “ลูกโหม่ง” ที่พม่าเรียกว่า “มอง” ขนาดต่างๆมาบรรจุลงไว้ใน “กรอบรางหรือร้านไม้” ซึ่งพม่าเรียกส่วนนี้ว่า “ซาย”

ลูกโหม่ง ที่พม่าเรียกว่า “มอง” นี้ก็คือโลหะผสมที่ถูกตีขึ้นรูปให้กลมและแบนบางอย่างถาดมีปุ่มนูนขึ้นเป็นจุดกระทบตรงกลาง ไม่ใช่ลูกฆ้องชนิดเนื้อหนาๆมีฉัตรยาวทรงกระบอกอย่างลูกฆ้องวง หรือฆ้องเหม่ง ที่พม่าจะเรียกลูกฆ้องชนิดว่า “เจหน่อง”

มองซาย” หนึ่งชุดจะมีลูกโหม่งจำนวนทั้งหมด 17-18 ใบไล่เรียงขนาดจากใหญ่ไปหาเล็ก ร้อยเชือกผูกไว้ในราง หรือร้านไม้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ประกอบติดกันจำนวน 3 ราง ได้แก่

1.รางด้านบนซึ่งจัดวางให้ตั้งขึ้นและเอียงลาดไปด้านหลังเล็กน้อยให้พอเหมาะกับมือของผู้บรรเลง รางส่วนนี้เป็นรางขนาดใหญ่บรรจุลูกโหม่งไว้ 3 ใบ เริ่มต้นด้วยเสียง ฟา ซอล ลา ถัดลงมาเป็น

2.รางส่วนกลางซึ่งวางราบกับพื้นต่อจากรางด้านบน รางส่วนกลางมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองแถวด้วยกรอบไม้กั้นกลางในทางยาวทำให้เกิดพื้นที่ส่วนบน ซึ่งบรรจุลูกโหม่งเอาไว้จำนวน 3 ใบเริ่มต้นด้วยเสียง ที โด เร พื้นที่ส่วนล่างบรรจุลูกโหม่งไว้จำนวน 4 ใบ เริ่มด้วยเสียง มี ฟา ซอล ลา รวมลูกโหม่งทั้งหมดจำนวน 7 ใบ และ

3. รางด้านขวามือของผู้บรรเลงตั้งอยู่ส่วนท้ายสุดของรางส่วนกลางต่อเยื้องออกไป ตัวรางมีขนาดเล็กแบ่งพื้นที่ภายในเป็นสองส่วนด้วยเช่นเดียวกับรางกลาง พื้นที่ส่วนบนบรรจุไว้ด้วยลูกโหม่งจำนวน 3 ใบ เริ่มด้วยเสียง ที โด เร พื้นที่ส่วนล่างบรรจุไว้ลูกโหม่งไว้จำนวน 4-5 ใบ เริ่มด้วยเสียง ม ฟ ซ ล ดังนั้นรางที่ 3 จึงมีลูกฆ้องบรรจุอยู่ทั้งหมดจำนวน 7-8 ใบ บางครั้งอาจพบว่ารางส่วนที่ 3 นี้สามารถจัดวางให้ท้ายรางราดเอียงขึ้นได้เพื่อให้พอเหมาะกับมือของผู้บรรเลง

 

เรื่องทัวร์พม่า เที่ยวพม่าถามเราสิคะ


นโยบายต่างประเทศ พม่า

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

อาหารยอดนิยมของชาวพม่า

ที่นี่เป็นร้านชากาแฟสไตล์สภากาแฟเมืองไทยมากกว่า และส่วนใหญ่จะมีแต่ผู้ชายนั่ง เหมือนมีการแบ่งแยกนิดๆ จะแปลกๆถ้าผู้หญิงไปนั่ง จะเปิดแต่เช้าเลย มีอาหารที่ขายร่วมด้วย เช่น ปาท่องโก๋ (ที่นี่เรียกประมาณ อิ่วเจ๋ คล้ายภาษาแต้จิ๋วเรย)

ประวัติศาสตร์ พม่า

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต

ทะเลสาบอินเล - พม่า

ทะเลสาบอินเล - พม่า ทะเลสาบอินเลตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่ของรัฐฉาน อยู่ห่างจากเมืองตองยีไม่ถึง 30กิโลเมตร พบวิถีชีวิตตามธรรมชาติของชาวอินเล

เที่ยวพม่า สักการะ 3 ใน 5 สิ่งศักสิทธิ์ของพม่า

ชื่นชมพระมหาเจดีย์ชเวดากอง พระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย สักการะพระธาตุมุเตา สูงที่สุดของพม่า ไหว้พระธาตุอินทร์แขวน พระธาตุประจำปีเกิดของปีจอ

พระตาหวาน พระนอนพม่าที่ตาหวานที่สุด

พระตาหวาน วัดเจ๊าทัตยี พระนอนองค์ใหญ่ที่ตาหวานที่สุด ด้วยพระพักตร์ที่อ่อนช้อยงดงาม จีวรพริ้วไหวราวกับจองจริง และภาพวาดรูปมงคล 108 ประการที่ฝ่าพระบาท

วิธีขอพรเทพทันใจ เทพกระซิบ ที่พม่า อย่างไรให้ได้ผล?

เทพทันใจและเทพกระซิบ สองเทพแห่งพม่าที่คนไทยเรานิยมเดินทางไปขอพรกัน เชื่อว่าจะช่วยให้สมปรารถนาได้ตามที่ขอ สำหรับใครที่เดินทางไปพม่าอยากจะไปขอพรเทพทันใจ เรามีวิธีการไหว้ขอพรมาฝาก

เที่ยวพม่า ไหว้พระ สักการะ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่า..มนต์เสน่ห์แห่งศรัทธา แผ่นดินทองคำ

9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพม่าที่ต้องหาโอกาสไปสักการะสักครั้งในชีวิต

เที่ยวพม่า รู้จักกับภูมิประเทศ พม่า กันก่อน

ที่ตั้ง : ประเทศพม่าตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์พม่า 2 ใน 5 ที่ ที่คนอาจนึกไม่ถึง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์พม่า 2 ใน 5 ที่ ที่คนอาจนึกไม่ถึง มหาเจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม เจดีย์ทองแห่งชัยชนะ กับความอัศจรรย์ 9 ประการ พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพม่า

เที่ยวพม่า ชมประเพณีแห่พระบัวเข็ม พลังแห่งศรัทธา ณ ทะเลสาบอินเล

ไปเที่ยวพม่า ร่วมเทศกาลพระบัวเข็ม พลังแห่งศรัทธาที่ปิดทองจนไม่เห็นองค์พระ มีประเพณีแห่พระบัวเข็มที่ทะเลสาบอินเลเป็นประจำทุกปี

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!