ส่องตุรกี ดินแดน 2 ทวีป อารยธรรมล้ำค่าต้องที่นี่
เป็นที่รู้กันว่าประเทศตุรกี..มีฉายาหลายอย่างที่ผู้คนกล่าวขวัญถึง เช่น "แดนไก่งวง" หรือ "ดินแดน2ทวีป" มนต์เสน่ห์ของดินแดนนับตั้งเเต่ครั้งโบราณกาล การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม2ทวีป และ2ศาสนาซึ่งเข้ากันได้อย่างดี แบบไม่บอกถูก ซึ่งถือเป็นประเทศที่น่าสนใจและมีสถาปัตยกรรมหลายแบบเลยหละ วันนี้เลยจะพาไปชมว่ารอบๆแดนไก่งวงมีอะไรน่าสนใจบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักตุรกีกันจ้า

1. พระราชวังโทพคาปี (Topkapi Sarayi)

แบ่งออกเป็น 5 โซนหลัก ได้แก่
- Courtyard I ลานซึ่งทำหน้าที่เป็นเขตนอกหรือสวนสาธารณะและเป็นลานที่ใหญ่ที่สุดของลานทั้งหมดของพระราชวัง
- Courtyard II เมื่อผ่านประตูกลางจะเป็นบริเวณของลานที่สอง หรือจัตุรัส Divan (Divan Meydanı) ลานที่ถูกสร้างและเสร็จสมบูรณ์ประมาณปี ค.ศ. 1465 ในระหว่างรัชสมัยของ Mehmed II ถือเป็นศูนย์กลางการปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน
- Courtyard III “ประตูแห่งความสุข” เป็นทางเข้าไปพระราชฐานส่วนในของพระราชวัง (Inner Palace, Enderûn Avlusu) ซึ่งเป็นส่วนที่สงวนไว้สำหรับความเป็นส่วนตัวสุลต่าน
- Courtyard IV สวนดอกไม้และ Terrace ที่เรียกว่า Imperial Hall (Sofa-i Hümâyûn) ลานระเบียงหินอ่อนหันหน้าไปทางโกลเด้นฮอร์นทำให้เห็นวิวทะเลที่สวยงามนอกจากนี้ยังมีอาคารและสถานที่สวยงามและน่าสนใจอีกหลายแห่ง
- Harem พื้นที่อยู่อาศัยของสุลต่าน, พระราชินี, สตรีของสุลต่าน, ราชวงศ์, ข้าราชบริพาร, นางสนมและองครักษ์ Topkapı Palace Harem ประกอบไปด้วยห้องพักประมาณ 300 ห้อง, ห้องอาบน้ำ 9 ห้อง, มัสยิด 2 แห่ง ถือเป็นส่วนที่หรูหรา ดูแพงมากๆเลยหละจ้า

ยืนชม สายน้ำแห่งช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย หรือจะเข้าใจง่ายๆว่าช่องแคบแบ่งอารยธรรมเอเชีย-ยุโรปก็ไม่ผิดนัก ณ พระราชวังโทพคาปี
2. Blue Mosque สุเหร่าสีน้ำเงิน

หลังคาประดับด้วยกระเบื้องสีฟ้าทั้งหมด ณ ปัจจุบันยังใช้เป็นสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา แต่ก็ยังให้นักท่องเที่ยวเข้าชมด้านในฟรี เว้นแต่ ช่วงประกอบพิธีจะปิดไม่ให้เข้า รอบข้างสุเหร่าแห่งนี้ ยังเป็นที่ฝังศพของกษัตริย์และราชวงศ์ และมีสิ่งก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้แก่ ห้องสมุด ห้องอาบน้ำ โรงพยาบาล และโรงเรียน อีกด้วย ห้ามพลาดเด็ดขาดถ้าคุณมีโอกาสได้มาเยือน
ภาพจากอีกมุมนึงจ้า

3. สุเหร่าเซนต์โซเฟีย

1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง เมืองอิสตันบูล สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 532 โดยจักรพรรดิ์คอนสแตนตินเพื่อให้เป็นโบสถ์ทางคริสตศาสนา ถือเป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกของยุคกลางเลยหละ สุเหร่าเซนต์โซเฟียอยู่ตรงข้ามกับสุเหร่าสีน้ำเงินนั้นไง ไม่ไกลกันเลยหละ
4. เสาโอเบลิสก์ของธีโอโดซีอุส

อนุสาวรีย์เสาหินซึ่งมีอายุกว่า 3,500 ปี ถูกสร้างขึ้นในสมัยของฟาโรห์ Thutmose III และนำเข้ามายังที่นี่โดย จักรพรรดิแห่งโรมัน Theodosius I (ค.ศ. 379-395) ได้นำมาไว้ที่ Hippodrome of Constantinople เรียกได้ว่าไม่ต้องไปอิยิปต์ก็เหมือนอยู่อียิปต์เลยหละ
5. เอฟิซุส (City of Ephesus) เมืองเซลจุก

เมืองโบราณเก่าแก่ ที่มีมาก่อนยุคคริสตกาล ถูกขนานนามว่า เป็นมหานครแห่งแรก และแห่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งในปัจจุบัน เอฟิซุส ก็ยังถือเป็นเมืองโบราณอยู่
ไฮไลท์ของเมืองแห่งนี้ก็คือ The Library of Celsus ( หอสมุดประจำเมือง ) หอสมุดแห่งนี้ถือเป็นสุดยอดงานสถาปัตยกรรมที่เลื่องชื่อในยุคนั้น โดดเด่นไปด้วยความงดงามของศิลปะในแบบ “เฮลเลนนิสติก” อันเป็นยุคทองของงานศิลปะของกรีก สายประวัติศาสตร์ควรมาให้ได้
อีกมุมนึงของเมืองโบราณเอฟิซุส
5. Taksim Square ยามค่ำคืน

เป็นสถานที่ในการจัดกิจกรรมสาธารณะ เช่น ขบวนพาเหรดในการเฉลิมฉลองปีใหม่ หรือการพบปะทางสังคมอื่นๆ และเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ด้วยเป็นที่ตั้งของสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น
อนุสาวรีย์แห่งสาธารณรัฐ (Cumhuriyet Anıtı) ซึ่งสร้างขึ้นโดย Pietro Canonica และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1928 เพื่อเป็นเป็นอนุสาวรีย์ฉลองครบรอบ 5 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 หลังสงครามอิสรภาพของตุรกี
İstiklal Caddesi (Independence Avenue) หรือเรียกสั้นๆ ว่า İstiklal Cd. เป็นหนึ่งในถนนช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ในนครอิสตันบูล ตั้งอยู่ในเขต Beyoğlu (Pera) มีระยะทางกว่า 1.4 กิโลเมตรทอดยาวจาก Taksim Square ไปจนถึง Beyoğlu Station
รถรางสีแดงสดที่วิ่งจาก Taksim Square ไปตามถนนใกล้กับ Tünel (1875) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกลำดับที่สองรองจากรถไฟใต้ดินในกรุงลอนดอน (1863) จตุรัสเดียวเที่ยวรอบเมืองเลยหละจ้า
เห็นไหมล่ะว่าแต่ละที่ของตุรกี น่าสนใจมาก จริงๆ ยังมีอีกหลายแห่ง รับรองว่าคุณจะได้พบกับอารยธรรมที่ทั้ง 2 ซีกโลกมาบรรจบกันได้ที่นี่ "ที่เดียว"
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้