รู้ไหมว่า สตม. อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางจำพวกอยู่ในไทยเป็นกรณีพิเศษ
กรณีผู้ได้รับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุญาตให้ชาวต่างชาติบางจำพวกเดินทางเข้าประเทศไทยได้เป็นกรณีพิเศษ ด้วยวีซ่าประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV)
ประเภทนักท่องเที่ยวพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ที่ต้องการเข้าไทย ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นคนต่างชาติที่มีความต้องการที่จะเดินทางมาอาศัยภายในประเทศไทยในระยะยาว (Long Stay)
- ต้องยอมรับกฎและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ประกาศใช้ภายในประเทศไทยและยินยอมกักตัวในห้องพักจำนวน 14 วัน (ALSQ)
- มีหลักฐานสถานที่พักอาศัยระยะยาวภายในประเทศไทย (Long Stay) เช่น การชำระเงินค่าโรงแรมที่พัก (ALSQ) หรือโรงพยาบาลที่พัก (AHQ)ภายในประเทศไทย หลักฐานที่พักอาศัย เป็นต้น
หลักการและแนวทางในการเปิดรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ STV มีดังนี้
- ต้องเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาพักอาศัยระยะยาว ผ่านบริษัท ไทยจัดการลองสเตย์ จำกัด
- บริษัท จัดส่งข้อมูลนักท่องเที่ยวให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบประวัติ
- เมื่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอนุญาต บริษัทจะประสานนักท่องเที่ยวให้ดำเนินการกรอกแบบฟอร์ม ดังนี้
- เลือกสถานที่กักตัว 14 วัน และสถานที่พักภายหลังกักตัว
- เลือกเที่ยวบินเช้าเหมาลำหรือเที่ยวบินส่วนตัว
- ซื้อประกันสุขภาพ 100,000 US และประกันอุบัติเหตุในไทย นักท่องเที่ยวชำระเงินเองทั้งหมดก่อนเดินทางเข้าไทย
- บริษัทฯ ยื่นขอวีซ่า STV เพื่อพิจารณาอนุมัติ COE และ วีซ่า STV
- เมื่อกรมการกงสุลอนุมัติแล้ว จะแจ้งไปยังสถานทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง จากนั้นทางสถานทูตฯ จะแจ้งนักท่องเที่ยวให้เดินทางมารับ COE พร้อมนำหนังสือเดินทางมาติดสติ๊กเกอร์วีซ่า STV บนหนังสือเดินทาง นักท่องเที่ยวต้องแสดงเอกสารชำระเงิน ใบรับรองแพทย์ Fit to Fly
- เมื่อถึงประเทศไทย ต้องผ่านการตรวจคัดกรองของ สธ. ณ สนามบิน
- ไม่พบเชื้อ เข้าสู่กระบวนการตรวจคนเข้าเมือง
- พบเชื้อโควิด-19 ถูกส่งตัวรักษาในโรงพยาบาลที่รองรับ
- นักท่องเที่ยวที่ไม่พบเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัว 14 วัน ถ้าไม่พบเชื้อจะสามารถออกมาพักในสถานที่ที่เลือกไว้ต่อตามเวลาที่กำหนด
ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ STV มีคุณสมบัติ ดังนี้
- เป็นคนต่างชาติที่ต้องการจะเดินทางมาเข้ามาท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬาในประเทศไทย ในกลุ่มผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำหรือความเสี่ยงปานกลาง ตามการจัดกลุ่มประเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข สำหรับการผ่อนคลายผู้ไม่มีสัญชาติไทยเข้ามาในประเทศไทยตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ยอมรับและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ตามที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนดราชการกำหนด และยินยอมกักตัวภายในเรือ เป็นจำนวน 14 วัน
- มีเอกสารและหลักฐานการเข้ามาในประเทศไทย เพื่อท่องเที่ยวโดยเรือสำราญและกีฬา โดยแสดงตนการเป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ หรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ หรือผู้โดยสาร
- มีหลักฐานการทำกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองตรวจรักษาโรค โควิด 19ในวงเงิน 100,000 US ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงการทำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุของไทยคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่เข้ามนในประเทศไทยโดยมีจำนวนเงินประกันภัยสำหรับค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และกรณีผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 400,000 บาท
- มีหลักฐานการชำระเงินล่วงหน้า ในการเช่าจองสถานที่จอดเรือ
- ปฏิบัติตามประกาศกรมเจ้าท่าว่าด้วยแนวปฏิบัติสำหรับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ที่เข้ามาในน่านน้ำไทย
ซึ่งชาวต่างชาติที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้ บุคคลต่างชาติที่มากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) ซึ่งมีคุณสมบัติและได้ปฏิบัติตามข้อ 1. มีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) เพื่อเข้ามาในประเทศไทย สำหรับใช้ได้ครั้งเดียวจากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 90 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้ การตรวจลงตราตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ กำหนด
*** ชาวต่างชาติทุกคนที่เข้ามาในประเทศไทย จะต้องผ่านการดำเนินการตามการควบคุมโรคโควิด-19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จึงจะมีสิทธิขอรับการตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว ประเภทพิเศษSpecial Tourist Visa (STV) และจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 90 วัน และภายหลังจากที่ครบกำหนดเวลา อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 90 วัน รวมเป็น 270 วัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- กระทรวงมหาดไทย
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้