จะเกิดอะไรขึ้น?? เมื่อคนต่างชาติอยู่เกินกำหนดวีซ่าในประเทศไทย (Overstay Visa in Thailand)
เพิ่งจะรู้ว่าตัวเองอยู่เกินกำหนดวีซ่าในประเทศไทย!! ชาวต่างชาติหลายคนเข้าใจผิดว่าอายุวีซ่า (Visa Validity) และระยะเวลาพำนัก (Period of Stay) เป็นวันที่เดียวกัน บางคนคาดคะเนวันวีซ่าตามระยะเวลาที่พำนักอยู่หรือลืมวันหมดอายุวีซ่า ทำให้เกิดข้อผิดพลาดอยู่เกินกำหนดวีซ่าในประเทศไทย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อยู่เกินกำหนดวีซ่า Wonderful Package จึงขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตให้พำนักในไทยได้ทราบกันค่ะ
ความหมายของอายุวีซ่า (Visa Validity) และระยะเวลาพำนัก (Period of Stay) แบบย่อ
- อายุวีซ่า (Visa Validity) คือ ระยะเวลาที่ผู้ถือวีซ่าได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศไทยได้ สังเกตุได้จากสติ๊กเกอร์วีซ่าในเล่มพาสปอร์ต
- ระยะเวลาพำนัก (Period Stay) คือ ระยะเวลาที่ผู้ถือวีซ่าได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ สังเกตุได้จากตราประทับขาเข้าในเล่มพาสปอร์ต
ท่านสามารถดูความหมายของอายุวีซ่าและระยะเวลาพำนักแบบละเอียดได้ที่ https://bit.ly/2X5X1Ld
การอยู่เกินกำหนด (Overstay) คืออะไร?
การอยู่เกินกำหนด คือ การที่ชาวต่างชาติพำนักอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนดวันที่ได้รับอนุญาตบนสติ๊กเกอร์วีซ่าและตราประทับขาเข้า
ยกตัวอย่างเช่น คุณเดินทางเข้าประเทศไทยในวันที่ 1 สิงหาคม ด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว 60 วัน และได้รับใบอนุญาตให้อยู่จนถึงวันที่ 29 กันยายน หากคุณยังคงอยู่ในประเทศไทยหลังจากวันที่ 29 กันยายน โดยไม่ได้ต่ออายุหรือขยายวีซ่าไทย ถือว่าคุณอยู่เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต จะต้องเสียค่าปรับและไม่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณอยู่เกินกำหนดวีซ่าหรือใบอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย?
- เมื่อรู้ตัวว่าอยู่เกินกำหนดวีซ่า คุณควรพยายามแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด แม้ว่าคุณจะอยู่เกินกำหนดเพียงแค่ 1 วันก็ตาม เพราะถือว่าผิดกฎหมายไทย มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกคุมขังและจำคุก
- หากคุณถูกตรวจจับได้ว่าที่อยู่เกินกำหนดวีซ่าในประเทศไทย คุณจะถูกควบคุมตัวและถูกลงโทษในศูนย์กักกันคนเข้าเมืองไทย หลังจากนั้นคุณจะถูกส่งตัวกลับประเทศหรือถูกจำคุกในประเทศไทย
- แต่ถ้าคุณยังไม่โดนตรวจจับ และจะออกนอกประเทศไทย คุณจะต้องเสียค่าปรับวันละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท พร้อมทั้งถูกสั่งห้ามกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาและระยะเวลาของการอยู่เกินเวลาของคุณ
การอยู่เกินกำหนดเกิดขึ้นได้หลายกรณีขอยกตัวอย่างดังนี้
- ไม่มีเจตนาที่จะอยู่เกินกำหนด เช่น เข้าใจผิดเรื่องวันที่หมดอายุวีซ่าหรือใบอนุญาตให้พำนัก เมื่อรู้ตัวก็จะต้องรีบเสียค่าปรับที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเดินทางออกนอกประเทศ
- มีความจำเป็นต้องอยู่เกินกำหนด เช่น เกิดอุบัติเหตุ หรือล้มป่วย ทำให้ต้องอยู่พักรักษาตัวโดยที่ต่ออายุวีซ่า หรือขยายระยะเวลาพำนักไม่ทัน
- เจตนาที่จะอยู่เกินกำหนด เช่น รู้ตัวว่าวีซ่าหมดอายุวันไหน แต่ตั้งใจไม่ต่ออายุวีซ่า หรือขยายระยะเวลาพำนัก สำหรับกรณีนี้มีโอกาสสูงที่จะถูกแบนไม่ให้เข้าประเทศไทยถาวร และยังโดนจำคุกอีกด้วย
ในบางครั้ง ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมักจะทำการสุ่มตรวจคนต่างชาติที่อยู่สถานบันเทิงตามท้องถนน สถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว บริษัทที่รับชาวต่างชาติเข้าทำงาน และจุดตรวจต่างๆ เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการสุ่มเสี่ยงกับการโดนจับกุม จึงไม่ควรที่จะอยู่เกินกำหนดวีซ่าหรือเกินระยะเวลาพำนัก หากมีความจำเป็นหรือยังอยากอยู่ต่อ เพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย คุณควรจะดำเนินการต่ออายุวีซ่าและต่อใบอนุญาตขออยู่ต่อ ดีกว่าปล่อยให้ขาดอายุหรือเกินกำหนดอนุญาต
บทลงโทษเมื่ออยู่เกินกำหนด (Overstay) มีอะไรบ้าง??
- หากอยู่เกินกำหนดระยะอนุญาต สามารถเข้ามอบตัวได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทย โดยเสียค่าปรับในอัตรา 500 บาทต่อวัน และปรับสูงสุด 20,000 บาท (เมื่ออยู่เกิน 40 วันขึ้นไป)
- หากอยู่เกินกำหนดระยะอนุญาต และไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไทย (90 วันหรือมากกว่านั้น) เป็นความผิดร้ายแรง จถต้องถูกลงโทษทางกฏหมาย โดยเสียค่าปรับ 20,000 บาท และถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ห้ามไม่ให้เดินทางเข้าประเทศไทยอีกตามระยะเวลาที่เกินกำหนด
ยกตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวรัสเซีย เดินทางเข้าไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว 30 วัน อายุวีซ่าหมดวันที่ 31 มกราคม ปรากฏว่าเข้าใจผิดคิดว่าได้อายุวีซ่า 45 วัน จึงอยู่เที่ยวต่อจนถึงวันกำหนดกลับ 5 กุมภาพันธ์
ในกรณีนี้ เท่ากับว่านักท่องเที่ยว อยู่เกินอายุวีซ่า 5 วัน ให้ไปรายงานตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเดินทางออกนอกประเทศ โดยจะเสียค่าปรับในอัตรา 500 บาท x 5 วัน = 2,500 บาท เป็นต้น
ตารางการเสียค่าปรับและระยะเวลาที่ห้ามกลับเข้าประเทศไทยมีรายละเอียด ดังนี้
คนต่างชาติที่อยู่เกินกำหนด |
ระยะเวลาที่เกินกำหนด
|
ค่าปรับที่เกินกำหนด |
ห้ามกลับเข้ามาเป็นระยะเวลา นับตั้งแต่วันที่เดินทางออก |
1. กรณีเข้ามอบตัว |
มากกว่า 90 วัน มากกว่า 1 ปี มากกว่า 3 ปี มากกว่า 5 ปี |
20,000 บาท |
1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี |
2. กรณีถูกจับกุมดำเนินคดี |
ต่ำกว่า 1 ปี มากกว่า 1 ปี |
20,000 บาท |
5 ปี 10 ปี |
ดังนั้น คนต่างชาติที่จะขอวีซ่าเข้าประเทศไทย ไม่ว่าจะเข้าด้วยวีซ่าประเภทอะไร ควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอายุของวีซ่าและระยะเวลาพำนักให้ดี ไม่ควรอยู่เกินเวลาที่กำหนด แต่หากพบว่าวีซ่าหมดอายุทั้งที่ยังอยู่ในประเทศไทย มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกวิธีและรวดเร็ว เพื่อไม่ให้โดนระงับการเข้าประเทศไทยในครั้งต่อไป
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ Wonderful Package สิคะ ทางเรายินดีให้คำแนะนำและบริการทุกท่านค่ะ
ท่านสามารถดูวิธีการต่อวีซ่าแต่ละประเภทและการขอกลับเข้าประเทศได้ที่
ขอบคุณข้อมูลจาก
What will happen if foreigner stay in Thailand exceed their visa? (Overstay Visa in Thailand)
会发生什么?当外国人的泰国签证到期后逾期逗留。
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้