ทัวร์ภูฏาน เที่ยวภูฏาน
ประเทศภูฎาน หรือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan)ได้รับสมญานามว่า “ดินแดนของมังกรสายฟ้า” (Druk Tsendhen) หรือ "Land of the Thunder Dragon" ด้วยเหตุผลที่ว่า ชื่อภูฏานในภาษาถิ่นคือ Druk Yul (ดรุก-อือ) ซึ่งมีความหมายว่า “ดินแดนของมังกร” โดยมีตำนานเล่าต่อกันว่า เมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 11 มีลามะชาวทิเบตได้เดินทางมาหาทำเลที่ตั้งวัดใหม่ในตอนกลางของทิเบต เมื่อมาถึงสถานที่สร้างวัด ท่านก็ได้ยินเสียงฟ้าร้อง เสียงดังเหมือนเสียงคำรามของมังกร ท่านจึงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า Druk (มังกร) และตั้งชื่ออาศรมว่า Drukpa เมื่อชาวภูฏานได้ครอบครองดินแดนในแถบนี้จึงใช้ชื่อประเทศว่า Druk Yul และเรียกตัวเองว่า ดรุกปาส-Drukpa (Drukpas) ตั้งแต่นั้นมา
สำหรับชื่อประเทศภูฏาน(Bhutan) นั้นมีที่มา 2 แห่งคือภาษาสันสกฤต และ ภาษาอินเดีย โดยในภาษาสันสกฤต คำว่า “ภูฏาน” มาจากคำว่า ภู+อุทาร ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินบนที่สูง” ส่วนในภาอินเดียนั้น ภูฏานเรียกว่า Bhotanta หมายถึงดินแดนทางตอนเหนือของทิเบต
ภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กซึ่งอยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยระหว่างจีนกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล มีพรมแดนติดกับทิเบตและกับอินเดีย ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยภูเขาที่สูงที่สุด คือ Gangkhar Puensum Peak ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 7,541 เมตร สำหรับเมืองหลวงของภูฏานมีชื่อว่า ทิมพู (Thimphu) ,uเมืองสำคัญอื่นๆ อีก เช่น ปาโร (Paro) ตรงซา (Trongsa) ปูนาคา (Punakha) บุมธัง (Bumthung) และอูรา(Ura)
มนต์เสน่ห์แห่งภูฏาน
ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆที่ถูกปิดล้อมด้วยธรรมชาติ ทั้งภูเขา แม่น้ำ อีกทั้งยังมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เพราะเป็นประเทศที่ถูกขนาบด้วยจีนและอินเดียซึ่งเป็นประเทศใหญ่และมีอิทธิพลมาก แต่ภูฏานก็ยังสามารถดำรงตนให้เป็นประเทศอิสระมาโดยตลอด สำหรับการท่องเที่ยวของภูฎานนั้นจะ มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่มากนักที่เดินทางไปมาได้ เนื่องจากที่ตั้งของประเทศมีการเดินทางที่ค่อนข้างลำบาก ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าภูฏานโดยอัตราที่กำหนดคือ ประมาณปีละไม่เกิน 5,000-7,000 คน ภูฏานมีชื่อเสียงในความเป็นเมืองพุทธศาสนาบนเทือกเขาหิมาลัย ประกอบกับธรรมชาติที่สวยงามบริสุทธิ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “สวรรค์บนดิน”เลยทีเดียว
เสน่ห์ที่เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมภูฏาน คือ ธรรมชาติอันสวยงามของเทือกเขาหิมาลัย และชีวิตแบบเรียบง่ายสงบสุขของชาวภูฏาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชีวิตของสังคมของการทำเกษตรกรรมที่ยังคงยึดมั่นในคำสอนของศาสนา และดำรงชีวิตตามตามวิถีชาวพุทธนิกายมหายานตลอดมา อีกทั้งยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาช้านาน ส่วนหนึ่งก็มาจาก พระราโชบายอันชาญฉลาดของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก กษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ทรงต้องการให้ชาวภูฏานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของภูฏานเอาไว้ ถึงแม้ว่าภูฏานจะเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวแล้วก็ตาม แต่นโยบายคัดเลือกและจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวก็เป็นแนวทางที่ดีที่จะทำให้ภูฏานสามารถดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติ เอาไว้ได้ สำหรับภูฏานเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ด้วยเหตุนี้ผู้คนจากโลกจึงหลั่งไหลกันมาเยี่ยมชมเมื่องแห่งอรายธรรมแห่งนี้
ประชากร
ประชากรของภูฎาน ประกอบด้วยชน3 เชื้อชาติ คือNgalops (ชนเชื้อสายทิเบต อยู่ทางภาคตะวันตก) Sharchops (ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก) และ Lhotshams (ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้) สำหรับประชากรของภูฏานแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆได้อีก คือ กลุ่มดรุกปาส (Drukpas) ได้แก่ กลุ่มเชื้อสายทิเบต กับกลุ่มซังลา มีจำนวนมากที่สุด โดยแยกกลุ่มจากภาษาถิ่นที่ใช้กันอยู่ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มชาวเนปาลอพยพ ในปัจจุบันรัฐบาลภูฏานพยายามผลักดันให้ประชากรกลุ่มนี้เดินทางกลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล นอกจากชนกลุ่มใหญ่ทั้งสองกลุ่ม ภูฏานยังมีชนกลุ่มน้อยอีก ซึ่งเป็นชาวทิเบต สิกขิมและอินเดีย
ภาษา
ภูฏานมีภาษาราชการ คือ ภาษาซองคา (Dzongkha) ซึ่งเดิมเป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ สำหรับในโรงเรียนจะมีการสอนภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ ชาวภูฏานจึงรู้ภาษาอังกฤษและใช้สื่อสารได้ดี ชาวภูฏานในแต่ละภูมิภาคมีภาษาพูดต่างกัน กันออกไป
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ
ภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภูฏานไม่มีทางออกทะเล ภูมิประเทศมีจะ 3 ลักษณะ คือเป็นเทือกเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหิมาลัย สำหรับพื้นที่ตอนกลางของประเทศมีภูมิประเทศเป็นห้วยและเนินเขา ส่วนทางตอนใต้ พื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีแม่น้ำพรหมบุตรไหลผ่าน
ภูมิอากาศ
สภาพอากาศทั่วประเทศไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ส่วนมากเป็นแบบกึ่งร้อน มีฝนตกชุก นอกจากทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นบริเวณเทือกเขาสูง จะมีอากาศหนาวเย็นมาก บนยอดเขามีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปี บริเวณนี้อุณหภูมิเฉลี่ยติดลบถึง 10 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อน ส่วนตอนกลางวันอุณหภูมิประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส ตอนกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ย 10-15 องศาเซลเซียส ภูฏานเป็นประเทศเดียวในเทือกเขาหิมาลัยที่มีฤดูมรสุม ในเดือนมิถุนายน-กันยายน ในระหว่างฤดูมรสุมภูฏานจะมีฝนตกทุกคืน ตอนกลางวันวันถ้าฝนไม่ตกจะมีเมฆมาก และก้อนเมฆลอยต่ำปิดบังยอดเขาและภูมิประเทศโดยรอบ
ฤดูกาล
ประเทศภูฏาน จะมีด้วยกันทั้งหมด 4 ฤดู
- ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
- ฤดูร้อน หรือฤดูมรสุม อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ฝนตกชุกตามเทือกเขาจะเชียวชอุ่ม
- ฤดูใบไม้ร่วง อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส ปลอดโปร่งจากเมฆหมอกและเมฆฝน เหมาะกับการเดินเขา
- ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็นจัด ตอนกลางคืนและรุ่งเช้า มักจะมีหมอกหนามาก บางครั้งในช่วงเดือนมกราคมอาจมีหิมะตกในเมือง
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในภูฏาน
- วัดรังมังกร
วัดรังมังกร (Tiger’s Nest Monastery) ตั้งอยู่บนหน้าผา เหนือป่าสนสีฟ้า ด้วยความสวยงามของสภาพแวดล้อมบวกกับวัดที่ทำให้ที่นี่เป็นแรงจูงใจของนักไต่เขาต่างต้องการที่จะเดินทางมาณที่แห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถขี่ม้าขนาดเล็ก แต่จะขึ้นไปถึงแค่ส่วนของโรงอาหารเท่านั้น จากนั้นต้องเดินไต่เขาและผ่านบันไดแคบ ๆ ด้านหน้าตัววัด เส้นทางที่ข้ามตัวโบสถ์ลงไปจะเป็นน้ำตกที่ออกมาจากถ้ำเสือหิมะ (Snow Lion Cave) ทิวทัศน์ของหุบเขาพาโรเมื่อมองจากที่นี่จะสวยงามมาก แวดล้อมด้วยบรรยากาศแห่งความศักดิ์สิทธิ์ วัดนี้เป็นสถานที่ที่ชาวพุทธทุกคนต้องมาให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต
- พูนาคาซอง
พูนาคาซอง (Punakha Dzong) เป็นสถานที่อันดับ 2 และเป็นซองที่ใหญ่อันดับ 2 ของประเทศภูฏาน บางครั้งก็เรียกว่า Pungthang Dewachen Phodrang (พระราชวังแห่งความสุข) เป็นสถานที่ที่งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดในภูฎฎาน เมืองพูนาคาใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 3 ชั่วโมง สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยความงดงามมากและโดดเด่นเป็นสง่างาม ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่าง 2 แม่น้ำ คือ แม่น้ำโพ (Pho Chu) และแม่น้ำโม (Mo Chu) ซึ่งสังเกตุได้จากสีของแม่น้ำที่แตกต่างกัน พูนาคาซองเชื่อมต่อกับแผ่นดินด้วยสะพานไม้โค้งและมีพระธาตุที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ช่วงสมัยที่พระราชาทำการครองอาณาจักรสืบต่อกันมาในหุบเขานี้ พูนาคาซองแวดล้อมด้วยสภาพอากาศที่สวยงาม และในช่วงฤดูใบไม้ผลิต้นศรีตรังจะออกดอก สร้างงดงามให้บรรยากาศรอบซองแห่งนี้
- เส้นทางปีนเขาที่ซูริซอง (Zuri Dzong)
สำหรับยอดของซูริซอง น่าจะเป็นจุดเยี่ยมที่สุดในการชมทิวทัศน์ทั้งหมดของหุบเขาพาโรเลยและที่นี่ยังเป็นซองที่เก่าแก่ที่สุดของภูฏานอีกด้วย ภายในมีถ้ำที่พระพุทธเจ้าได้มาบำเพ็ญตนในช่วงศตวรรษที่ 8 สถานที่แสนสงบแห่งนี้ทำให้ชาวพุทธและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับความศรัทธาที่แวดล้อมด้วยวทิวทัศน์อันสวยสดงดงาม เมื่อมาถึงที่นี่จะได้พบกับความอัศจรรย์และความน่าเกรงขามของสถานที่แห่งนี้ ใช้เวลาทั้งหมดในการเดินทางประมาณ 30 นาที หากเริ่มจากพิพิธภัณฑ์หอสังเกตการณ์และเดินทาง ต่ออีก1 ชั่วโมงเพื่อไปยังอูม่า (Uma) นักท่องเที่ยวสามารถนั่งพักที่นี่เพื่อชมความงามของธรรมชาติได้
- หุบเขากังเตย์ (Gangtey) ในฤดูหนาว
หุบเขากังเตย์เป็นหนึ่งในหุบเขาที่น่าทึ่งที่สุดของเทือกเขาหิมาลัย หลายคนมักเรียกว่า ดินแดนสวรรค์แห่งภูฏาน ในฐานะที่ภูฏานเป็น “หนึ่งในประเทศที่มีความสุขมากที่สุดของโลก” และ “ดินแดนสวรรค์สุดท้ายบนโลก” บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างขวางมาก เป็นหุบเขาราบที่ไม่มีต้นไม้ หลังจากไต่ขึ้นมาอย่างยากลำบากผ่านป่าหนาทึบแล้วจะได้พบกับ สถานที่แห่งนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความประทับใจบนพื้นที่ขนาดใหญ่ นับเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก เพราะหุบเขาส่วนมากมักจะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น การเดินป่าสามารถแวะเยี่ยมหมู่บ้านโกโกนา (Gogona) และโคโตกา (Khotokha) ผ่านทุ่งหญ้าและสนาม ซึ่งจะได้พบกับป่าสน ดอกแม็กโนเลียและต้นศรีตัง ซึ่งจะบานสะพรั่งในเดือนเมษายน
สนใจโปรแกรมเที่ยวทัวร์ภูฏาน คลิกที่นี่