Like/Share:
โปรแกรมท่องเที่ยวสงกรานต์ กับโปรแกรมทัวร์สงกรานต์
ปฏิทิน วันหยุดสงกรานต์ 2563
เสาร์ |
อาทิตย์ |
จันทร์ |
อังคาร |
พุธ |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
ช่องทางการจอง
- เดินทาง: ตรงวันหยุดสงกรานต์
- จองออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ ตลอด 24 ชั่วโมง
- Call Center: 02-792-9292 (เวลาทำการ: จ-ส 09.00-18.00 น.)
- Add Line: @Wonderfulpackage << คลิกเลย (เวลาทำการ : จ-ศ 09.00-22.00 น. / ส-อา 10.00-19.00 น.)
สัมผัสธรรมชาติ อากาศดีๆ ไต้หวัน
เดินทาง: ตุลาคม - ธันวาคม 2567
เริ่มต้น
54,900
เดินทาง: 12-19 ตุลาคม 2567 (ตรงวันหยุด)
เริ่มต้น
69,900
เทศกาลดอกไม้บาน เกาหลี ญี่ปุ่น
หลากหลายประสบการณ์เที่ยวจีน
เที่ยวสงกรานต์ใกล้ๆ แค่บาหลี
หนีร้อนไปท้าลมหนาวที่ยุโรป
วันสงกรานต์
สงกรานต์ เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนย้าย เคลื่อนที่ ก้าวย่าง ซึ่งจริงๆ แล้วจะเป็นการย้ายเปลี่ยนผ่านไปในแต่ละเดือน แต่การย้ายที่สำคัญที่สุดก็คือการเคลื่อนย้ายยากราศีมีน ไปยังราศีเมษ เพราะฉะนั้น วันสงกรานต์ จึงถูกนำมาเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่โบราณถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ หรือจุลศักราชใหม่ โดยนับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี ซึ่งก็จะตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี โดยมี 3 วันสำคัญ มีชื่อเรียกกันในแต่ละภาคแตกต่างกันคือ
ภาคกลาง
- 13 เมษายน - วันมหาสงกรานต์ และยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
- 14 เมษายน - วันเนา และยังเป็นวันครอบครัว
- 15 เมษายน - วันเถลิงศก ถือเป็นวันเริ่มต้นจุลศักราชใหม่
ภาคเหนือ
- 13 เมษายน - วันสังขารล่อง หมายความว่าอายุสิ้นไปอีกปี
- 14 เมษายน - วันเน่า ห้ามพูดคำหยาบคาย วันนี้จะมีการขนทรายเข้าวัด
- 15 เมษายน - วันพญาวัน วันเปลี่ยนศกใหม่ วันนี้จะมีการไปเข้าวัดทำบุญ ทานไม้ค้ำศรี และไปดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่
- 16 เมษายน - วันปากปี๋ หรือวันปากปี หรือวันหนุน เป็นวันเริ่มต้นวันดีๆ ของปีใหม่ วันนี้ทุกบ้านจะกิน แกงขนุน เป็นการหนุนนำค้ำจุนให้มีสิ่งดีๆ เข้ามาตลอดปี
ภาคใต้
- 13 เมษายน - วันเจ้าเมืองเก่า หรือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า เชื่อว่าเป็นวันที่เทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์
- 14 เมษายน - วันว่าง วันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ชาวบ้านก็จะงดการทำงานต่างๆ แล้วไปทำบุญที่วัด
- 15 เมษายน - วันรับเจ้าเมืองใหม่ เป็นการรับเทวดาองค์ใหม่ที่มาประจำแทนองค์เดิม
นางสงกรานต์
ตามตำนานนางสงกรานต์ เกิดมาจากการท้าทายการตอบคำถามของท้าวกบิลพรหม กับ ธรรมบาลกุมาร โดยท้าวกบิลได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ซึ่งปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมาร ก็คือ "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน" ในส่วนของธรรมบาลกุมารซึ่งรู้ภาษานก และได้ยินนกคุยกันจนได้คำตอบว่า ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน จึงตอบคำถามนี้ได้
ทำให้ท้าวกบิลพรหมต้องทำตามสัญญา โดยจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ปัญหาก็คือ พระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น จึงให้ธิดาทั้ง 7 ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียรเวียนขวารอบเขาพระสุเมร แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ เมื่อครบกำหนดเวลา 365 วันหรือ 1 ปี ธิดาก็จะทรงพาหนะของตนผลัดเวรมารับเศียรออกแห่ต่อไปแบบนี้เป็นประจำทุกปี ซึ่งก็เป็นางสงกรานต์ทั้ง 7 องค์ ประจำวันทั้ง 7 วันนั่นเอง ซึ่งวันสงกรานต์ตรงกับวันใด นางสงกรานต์ประจำวันนั้นก็จะเป็นผู้ทำหน้าที่นี้
- วันอาทิตย์ - นางทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
- วันจันทร์ - นางโคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
- วันอังคาร - นางรากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)
- วันพุธ - นางมณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
- วันพฤหัสบดี - นางกิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)
- วันศุกร์ - นางกิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
- วันเสาร์ - นางมโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทรายพระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)
กิจกรรมวันสงกรานต์
นอกจากที่วันสงกรานต์เป็นวันหยุดยาว แต่ละคนพากันออกไปเที่ยวสงกรานต์ บ้างก็พากันไปทัวร์สงกรานต์กันทั้งครอบครัว ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ในวันหยุดยาวที่เราจะได้ทำร่วมกัน รวมเป็นการเล่นน้ำสงกรานต์จนเป็น Songkran Festival ที่โด่งดังไปทั่วโลกนั้น ยังมีกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ถือปฏิบัติกันต่อมา ดังนี้
- การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
- การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน ซึ่งมักจะเป็นน้ำหอม น้ำปรุง
- การสรงน้ำพระ โดยจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด บางแห่งมีการจัดให้สรงน้ำพระ
- บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล
- การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด
- การดำหัว เป็นประเพณีของทางภาคเหนือ เป็นการขอขมาผู้หลักผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะเอาน้ำพรมหัว แล้วให้พร ไม่ได้เป็นการรดน้ำเหมือนกับทางภาคกลาง
- การก่อเจดีย์ทราย เป็นการนำทรายมาก่อเป็นรูปร่างคล้ายเจดีย์
- การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาป สะเดาะเคราะห์
- การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดให้มีความสุขความเจริญ เชื่อว่าตลอดปี การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป
เรื่องเที่ยวสงกรานต์น่าอ่าน