ไปเที่ยวฟูจิ กับเทศกาลปีนภูเขาไฟฟูจิ
หากคุณรักญี่ปุ่นเป็นชีวิตจิตใจ หากคุณรักการผจญภัย และหลงใหลการเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ ต้องลองไปพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิดูสักครั้ง...กับเทศกาลปีนภูเขาไฟฟูจิ ที่เปิดให้ปีนได้แค่ช่วงฤดูร้อนคือ ต้นกรกฏาคม - ปลายเดือนสิงหาคม และช่วงที่คนนิยมปีนกันมากที่สุดคือช่วงเทศกาลโอะบ้งกลางเดือนสิงหาคม
เทศกาลที่จะทำให้คนรักฟูจิได้ไปชื่นชมกันถึงยอดเขา ได้ขึ้นไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิแถมยังได้ประกาศนียบัตรอีกด้วย แต่อย่าลืมลงทะเบียนล่วงหน้านะ โดยมีกำหนดช่วงเวลาที่จะปีนประมาณ 1-3 วัน ที่สำคัญใครที่จะไปทัวร์ญี่ปุ่นและปีนเขา อย่าลืมออกกำลังกายและเตรียมฟิตร่างกายให้พร้อม และศึกษาคำแนะนำให้ดีๆ ก่อน
คำแนะนำในการพิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ
- ปีนในวันที่ฟ้าโปร่งและสดใส เช็คสภาพอากาศล่วงหน้า
- ฟูจิมีทั้งหมด 10 ระดับโดยปีนขึ้นแต่ละชั้นแบบค่อยๆขึ้น เดินช้าๆดีกว่า
- ระวังสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและบริเวณยอดเขาระวังภาวะแพ้ความดันอากาศ
- คำแนะนำในการใช้บริการที่พักระหว่างทางขึ้นทำการจองล่วงหน้า
- ไม่เดินออกนอกเส้นทาง
- ไม่ปีนเขาในช่วงที่ร่างกายไม่แข็งแรง
- ในกรณีเดินลงจากเขาให้หลีกทางให้ผู้เดินขึ้นเขาก่อน
- ไม่ทิ้งขยะระหว่างทางและต้องเก็บขยะกลับด้วยตัวเอง
- พักผ่อนอย่างเพียงพอก่อนออกเดินทางให้เต็มที่
- พักก่อนเหนื่อยล้า โดยหลักเดิน 30 นาทีพัก 5 นาที แต่ถ้าร่างกายชินแล้วเดินสัก 50 นาทีพัก 10 – 15 นาที ค่อยจิบน้ำระหว่างพัก
- พักนานขึ้นเมื่ออยู่ระดับสู้ขึ้น พักนานขึ้นเป็น 20 – 30 นาที เพื่อไม่ให้ร่างกายเย็นเกินควรใส่เสื้อคลุม
- สถานที่บริเวณกว้างสามารถหยุดพักได้เพื่อไม่ให้กีดขวางทางเดินและไม่จำเป็นต้องนั่งเสมอไป อาจหยุดยืนแล้วค่อยสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆแทนการนั่งได้
- พักตามเป้าหมายที่ตนวางแผนไว้ เนื่องจากแต่ละคนมีความสามารถในการเดินไม่เท่ากัน
*** เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่สามารถเดินลงเขาได้ สามารถแจ้งเหตุได้ที่หมายเลข 110 หรือ 119***
Cr. www.halfwayanywhere.com
เทคนิคในการปีนเขา
ก่อนเที่ยวฟูจิ เรียนรู้วิธีการเดินบนภูเขาเบื้องต้น
- ท่าทางที่ถูกต้องคือเดินตัวตรงให้น้ำหนักอยู่ที่เท้า
- การวางเท้าแล้วแต่ทางลาดชัด ต้องปรับให้สมดุล การตะแคงตัวเดินในบางจุด
- การขึ้นและลงเขา ระยะก้าวสั้นๆยกระดับเสมอๆ
- ฝึกการใช้ไม้เท้าเพื่อความสะดวกและลดแรงการใช้ขา
- ค่อยๆเดินรักษาระดับความเร็วที่พอดีกับตัวเอง ปรับอัตราความเร็วของการก้าวเมื่อขึ้นทางเนิน,ทางชัน
- การเดินต้องพยายามควบคุมการหายใจแต่เหนื่อยกว่าเดินพื้นราบทำให้บ่อยครั้งหายใจแรงและลึกมากขึ้น
- สิ่งที่ใช้บ่อยๆคือ “ก้าวสั้นๆ และหายใจลึกๆ”+ สติ + ความระมัดระวังทุกก้าวที่เดิน
วิธีการปีนเขาที่เป็นพื้นกรวด พื้นหิน และบริเวณที่ใช้โซ่
- พื้นที่กรวด เดินก้าวสั้นๆ เหยียบให้เต็มเท้า ระวังไม่ให้ลื่น
- พื้นที่หิน เลือกบนพื้นที่แข็งแรง ค่อยๆ ปีนที่ละก้าว
- บริเวณใช้โซ่ ตรวจสอบความแน่น ใช้แรงขา ลำตัวห่างจากโซ่พอควร
เที่ยวภูเขาไฟฟูจิกับ 4 เส้นทางพิชิตยอดเขา
**เลือกเส้นทางที่เหมาะกับตนเองมากที่สุดและความให้ความสำคัญกับป้ายบอกทางตามเส้นทางที่เลือก**
- เส้นทางโยะชิดะงุจิ – คะวะงุชิโกะ (Yoshido-guchi&kawaguchiko)
เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขามากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเดินทางไป-มาสะดวก และมีที่พักเปิดให้บริการมากมาย แต่เพราะเป็นเส้นทางที่นิยมมาก คนจึงหนาแน่นมากโดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
- เส้นทางฟูจิโนะมิยะ (Fujinomiya)
เส้นทางนี้คือเส้นทางที่สั้นที่สุดในการไปถึงยอดภูเขาไฟฟูจิ เหมาะสำหรับนักปีนเขามือใหม่
- เส้นทางโกเท็นบะ (Gotemba)
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ลำบากที่สุด และใช้เวลาในการปีนมากที่สุดจึงเหมาะสำหรับนักปีนเขาที่แข็งแรงและมีประสบการณ์
- เส้นทาจิบะชิริ (Chibashiri)
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่เขียวชอุ่มที่สุด เนื่องจากสองข้างทางเป็นป่าไม้ จึงไม่ร้อนมาก นอกจากนี้ เส้นทางนี้ได้รับความนิยมจากนักปีนเขาน้อย การเดินทางจึงเงียบสงบ เหมาะแก่ผู้ชอบความเป็นส่วนตัว
Cr. www.notaballerina.com
10 ระดับ ภูเขาไฟฟูจิที่ต้องรู้
** การไปเที่ยวฟูจิทั้ง 4 เส้นทาง มีความต่างในแต่ละระดับ ที่จะกล่าวเป็นการสรุปให้เห็นภาพโดยง่าย**
ระดับ 1-5: ความสูง 2,000-2,300 เมตร รถบัสสามารถขึ้นมาถึงระดับที่ 5 มีที่พักและร้านค้าต่างๆมากมาย
ระดับ 6: ทางเดินไม่ชันมาก สภาพของพื้นดินก็จะเปลี่ยนเป็นก้อนหิน มีศูนย์ให้คำแนะนำด้านความปลอดภัย
ระดับ 7: ความสูงโดยประมาณ 3,000 เมตร เริ่มชันขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งกรวดและก้อนหินเพิ่มขึ้น มีบ้านพัก
ระดับ 8: สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน ใช้ทั้งมือและเท้าพยุงตัวในการปีนขึ้นเขาพร้อมออกซิเจนยิ่งน้อย มีบ้านพัก
ระดับ 9: สภาพของพื้นเป็นทรายกรวดก้อนหิน และชันเกือบ 45 องศา มีจุดชมวิวงดงาม
ระดับ 10: พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ พบปากปล่องไดโนอิน และศาลเจ้าฟุจิซังฮงเซงเกนไทฉะกู และความสวยงามของธรรมชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (JNTO) http://www.jnto.or.th
ใครอยากจะไป เที่ยวญี่ปุ่นในแบบส่วนตัว ลองไปกับ Group and Go กันดูสิคะ
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้