วัฒนธรรม มัลดีฟส์ และประเพณีมัลดีฟส์ เป็นอย่างไรกันนะ
ในแต่ละประเทศก็มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป มัลดีฟส์ก็เช่นเดียวกัน มีความเป็นมาเกี่ยววัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจไม่แพ้กับที่อื่นเลยทีเดียว
Cr. maafushimaldives.com
วัฒนธรรมและประเพณีของมัลดีฟส์
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวท้องถิ่นในมัลดีฟส์ ยึดรูปแบบของชาวมุสลิมเป็นสำคัญ ตั้งแต่การประกอบพิธีทางศาสนา ไปจนถึงวิถีชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเคร่งครัดในเรื่องการแต่งกายและอาหารเครื่องดื่มตามหลักศาสนา ซึ่งจำกัดอยู่ในตัวเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ ส่วนบนเกาะอื่นๆ นั้นจะมีบรรยากาศของเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ที่ให้อิสระเสรีก่ับแขกผู้มาเยือนอย่างเต็มที่ และในขณะเดียวกัน รีสอร์ตรวมถึงการคมนาคมทางเรือและเครื่องบิน ก็ถึงพร้อมในมาตรฐานระดับโลก ทั้งปลอดภัยและทันสมัย ด้วยเหตุนี้มัลดีฟส์จึงกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นเลิศติดอันดับโลกเสมอมา
วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของมัลดีฟส์
ชาวมัลดีฟส์เชื่อว่า โลกคือบ้านของพวกเขา และนักเดินทางคืออาคันตุกะของพวกเขา ถึงแม้ว่าการขยายตัวของการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมาทำให้ท่าทีเชิงบวกนี้ได้เปลี่ยนไป แต่ชาวมัลดีฟส์ก็ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มชนที่มีความเป็นมิตร และน้ำใจไมตรีสูงมากกลุ่มหนึ่ง และก็ยังคงเป็นผู้ที่มีประเพณี เป็นหัวใจของการดำรงชีวิต ชาวมัลดีฟส์มีความสุภาพเป็นอย่างมาก และรอยยิ้มเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเกาะ ในปัจจุบันการทักทายด้วยการจับมือแบบตะวันตกเป็นการทักทายที่ใช้อยู่ทั่วไปทั้งชายและหญิง การใช้มือข้างซ้ายในการให้หรือรับของเป็นพฤติกรรมต้องห้าม (เนื่องจากมือข้างซ้ายใช้สำหรับทำกิจกรรมในห้องน้ำ) การใช้มือซ้ายชี้ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการกระดิกนิ้วเรียกก็ถือว่าเป็นการไม่สุภาพอย่างมากเช่นกัน
ภาษาในมัลดีฟส์
นอกจากเรื่องประเพณีมัลดีฟส์ ก็ยังมีเรื่องของภาษา ซึ่งภาษาประจำชาติคือ ภาษาดิเวฮิ แต่พนักงานรีสอร์ททุกแห่งสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และบางแห่งมีพนักงานที่สามารถพูดภาษาได้หลากหลายภาษา ทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น
ภาษาดิเวฮิ (Divehi) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันและเป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ มีคนพูดประมาณ 300,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมัลดีฟส์ รวมทั้ง ภาษามาห์ล (Mahl dialect) ที่ใช้ในลักษทวีป ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เรียกชื่อต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง ภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของภาษาดิเวฮิมีหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอาหรับ ที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาอิสลาม รวมทั้ง ภาษาสิงหล ภาษามาลายาลัม ภาษาฮินดี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส และ ภาษาอังกฤษ คาดว่าภาษาดิเวฮิและภาษาสิงหลสืบมาจากภาษาเดียวกัน ซึ่งได้สูญพันธุ์ไป เมื่อเกิดภาษาใหม่ 2 ภาษาในช่วงประมาณ พ.ศ. 43
ผู้ศึกษาภาษานี้เป็นคนแรกคือ H. C. P. Bell เขาตั้งชื่อภาษานี้ว่า Divehi มาจาก –dives ของชื่อประเทศคือ Maldives คำว่าดิเวฮินี้มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกับทวีป (dvīp) ซึ่งหมายถึงเกาะในภาษาสันสกฤต นักภาษาศาสตร์ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับภาษาดิเวฮิเป็นคนแรกคือ Wilhelm Geiger ชาวเยอรมัน
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้