ทัวร์รัสเซีย เที่ยวรัสเซีย
รัสเซีย (รัสเซีย: Россия, ถอดเสียง ราซียา; [rɐˈsʲijə]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Российская Федерация) รัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้อนที่กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด และเป็นประเทศที่อยู่ในเรเชียเหนือ นอกจากนี้ประเทศรัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียมีการปกครองแบบระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี โดยแบ่งออกเป็น 83 เขตการปกครอง โดยไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพื้นที่พรมแดนติดกับเบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้รัสเซียยังมีพรมแดนทางทะเลที่ติดกับญี่ปุ่น โดยทะเลโอฮอตสก์ และสหรัฐอเมริกาโดยทางช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียมีพื้นที่ครอบคุมกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป และแผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณพลังงานสำรองและทรัพยากรแร่ธาตุใหญ่ที่สุดของโลก และรัสเซียยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย นอกจากนี้แล้วรัสเซียยังถือว่ามีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียก็สามารถบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก
ภูมิศาสตร์
ดินแดนพื้นที่อันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียมีพื้นที่ครอบคลุมแถบตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ถือว่าห่างไกลกันที่สุดของรัสเซียนั้นได้แก่ ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างที่รวมกันถึง 8,000 กิโลเมตร จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีถึง 11 เขตเวลา รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป" เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมง เพราะรัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง
ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะทางห่างกันกว่า 8,000 กิโลเมตร เลยจึงทำให้รัสเซียมีเขตเวลาแบ่งถึง 11 เขตเวลา รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป" เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก
พื้นที่สวนใหญ่ของรัสเซียจะเป็นที่ราบที่กว้างใหญ่ มีป่าไม้มากในทางตอนเหนือ และตอนใต้ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบสเตปป์ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ พื้นที่ที่เป็นเทือกเขาจะอยู่ในแถบชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตร และเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียกับยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่น เทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป
รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคสเปียน ทะเลบอลติก ทะเลดำ และทะเลอะซอฟ นอกจากนี้แล้วรัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลเบริง ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลลัปเตฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลชุคชี และทะเลโอคอตสค์ หมู่เกาะในรัสเซียที่ถือว่าสำคัญได้แก่ หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะคูริล เกาะแวรงเกล เกาะซาคาลิน และหมู่เกาะโนวายาเซมเลีย
ประวัติศาสตร์
ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวงศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาเช่นกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้ง แรกในปี ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ ทรงมีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือ "เครมลิน" ขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า มอสโก
ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์องค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมัน) พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่ามีรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงถูกขนานนามว่า "อีวานจอมโหด" ต่อมาเมื่อหมดยุคของพระองค์ในปี ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริค และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ก็มีมติเลือก มิคาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
สหภาพโซเวียต
โซเวียตโดยการนำของซาร์นิโครัสที่ 2 ได้ทำการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นผลให้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ และพระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นมาบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) ซึ่งนำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศเอาไว้ได้ โดยได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)
ปี ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยกา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลาสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชนมากขึ้น มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับ องค์การนาโต้ ในปีค.ศ.1990 ซึ่งนายกอร์บาชอฟก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพอีกด้วย รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย
สหพันธรัฐรัสเซีย
บอริส เยลต์ซินได้ รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ระหว่างและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการเปิดเสรีตลาดและการค้า และยังมีการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งตามแนวทาง "ชอคบำบัด" (shock therapy) ดังที่สหรัฐอเมริกาและกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งรัสเซียมีจีดีพีและปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 50% ระหว่าง พ.ศ. 2533-2538
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้โอนการควบคุมวิสาหกิจจากหน่วยงานของรัฐ ไปเป็นของปัจเจกบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงภายในในระบบรัฐบาล นักธุรกิจที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่หลายคนได้นำเงินสดและสินทรัพย์นับพัน ๆ ล้านออกนอกประเทศในการโยกย้ายทุนขนานใหญ่ ภาวะตกต่ำของรัฐและเศรษฐกิจนำไปสู่การล่มสลายของบริการสังคม อัตราการเกิดตกฮวบ ขณะที่อัตราการตายพุ่งทะยาน ประชาชนหลายล้านคนอยู่ในภาวะยาจน จากระดับความยากจน 1.5% ในปลายยุคโซเวียต เป็น 39-49% ราวกลาง พ.ศ. 2536 คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความไม่มีกฎหมายสุดขีด การเพิ่มขึ้นของแก๊งอาชญากรและอาชญากรรมรุนแรง
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีเยลต์ซินลาออก ส่งมอบตำแหน่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ วลาดีเมียร์ ปูติน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 ปูตินปราบปรามการก่อกบฏเชเชน แม้ความรุนแรงเป็นพัก ๆ ยังเกิดขึ้นทั่วคอเคซัสเหนือ ราคาน้ำมันที่สูงและเงินตราที่เดิมอ่อนค่าเกิดขึ้นหลังอุปสงค์ภายในที่เพิ่ม ขึ้น การบริโภคและการลงทุนได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นเก้าปีติดต่อกัน ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มอิทธิพลของรัสเซียในเวทีโลก แม้การปฏิรูปหลายอย่างที่ปูตินดำเนินการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยทั่วไปมักถูกชาติตะวันตกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ความเป็นผู้นำของปูตินเหนือการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพและความก้าวหน้าได้ทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในรัสเซีย
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ดมิทรี เมดเวเดฟได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ขณะที่ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ปูตินกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555 และเมดเวเดฟได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ในห้วงวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกสาธารณรัฐไครเมีย ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลตามการลงประชามติ
การเมืองการปกครอง
รัสเซียมีการออกรัฐธรรมนูญใหม่หลังจากที่มีวิกฤติการทางการเมืองในปี 1993 ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชามติในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และได้มีการเริ่มใช้ขึ้นตั่งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัสเซียถือว่าเป็นสหพันธรัฐ มีการปกครองโดนมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยรัฐบาลจะมีอำนาจในการบริหารประเทศ และประธานาธิบดีคนปัจจุบันของรัสเซียคือ นายวลาดีมีร์ ปูติน
เชื้อชาติ
ประเทศรัสเซียมีประชากรทั้งหมดประมาณ 141,773,000 คน จากการประมาณวันที่ 10 พฤศจิกายน 2013 ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 จำนวนประชากรของรัสเซียมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นผลจากอัตราการตายที่สูงและอัตราการเกิดที่ต่ำ ในขณะรัสเซียที่อัตราการเกิดในรัสเซียมีพอ ๆ กับประเทศยุโรปอื่น ๆ(โดยคิดเป็นร้อยละ 11.3 คน/ประชากรพันคนในปี 2007 เปรียบเทียบเป็นอัตราเฉลี่ยได้ 10.25 คนต่อประชากรพันคนของยุโรปทั้งหมด) ในปี 2007 อัตราการตายของรัสเซียคือ 14.7 คนต่อประชากร 1000 คน เมื่อเที่ยบกับอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 10.39 คนต่อ 1000 คน แต่ประชากรกลับลดลงเพราะอัตราการตายสูงกว่า รัฐบาลรัสเซียจึงได้มีการตั้งมาตรการต่างๆ ในการลดอัตราของการตายประชากร เพิ่มอัตราการเกิด พัฒนาสุขภาพของประชาชน เพราะปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ กระทรวงสาธารณสุขของรัสเซียได้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการตายและอัตราการเกิดจะปรับตัวจนเท่ากันภายในปี 2011 รัสเซียเป็นประเทศที่ถือว่ามีพื้นที่มากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับประชากรแล้ว ความหนาแน่นของประชากรมีเพียงแค่ 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น
ภาษา - เที่ยวรัสเซีย
ภาษารัสเซียเป็นภาษาประจำชาติของประเทศรัสเซีย และมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เพราะประชากรส่วนใหญ่จะสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ รองลงมาคือภาษาเยอรมัน ภาษารัสเซีย และภาษาอิตาลี
ศาสนา - ทัวร์รัสเซีย
ศาสนา ของประเทศรัสเซียส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย (ร้อยละ 70) ที่เหลือจะนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 5.5) คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 12.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน (ร้อยละ 0.6)
สนใจโปรแกรมเที่ยวทัวร์รัสเซียกับเราคลิกที่นี่