แพ็กเกจโปรแกรมทัวร์ท่องเที่ยววันปิยมหาราช

รายการโปรแกรมทัวร์ทั้งหมดสำหรับวันปิยมหาราช
Like/Share:


ทัวร์วันปิยมหาราช เที่ยววันปิยมหาราช

วันปิยมหาราชตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี โดยเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่พระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" มีความหมาบว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่รักของปวงชน" ทางรัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีตรงกัยวันปิยมหาราชนั่นเอง

ในวันดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จไปวางพวงมาลายังลานพระบรมรูปทรงม้า ตรงหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมในทุกๆปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจต่างๆที่สำคัญนับไม่ถ้วนซึ่งเราได้รวบรวมพระราชกรณียกิจที่สำคัญๆเป็นที่จดจำของประชาชนชาวไทยไว้ดังนี้


การเลิกทาส

หนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ปวงชนชาวไทยมิเคยลืมเลือน ซึ่งทำให้พระองค์ได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" นั่นเอง ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้นประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยก่อนทาสที่เป็นเรือนเบี้ยนั้นได้สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคนไม่สิ้นสุด

และกฏหมายที่มีอยู่ในตอนนั้นได้มีการตีราคาทาสเอาไว้โดยที่เพศชายมีค่า 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วจะต้องเป้นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงจะพอสามารถลดหนี้ลงได้บ้าง นั่นจึงหมายความว่าถ้าผู้ใดที่เกิดในเรือนเบี้ยไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองก็จำต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 แล้วให้มีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติ โดยมีการบัญญัติไว้ว่า "ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี เมื่อแรกเกิดชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง" ในปีพ.ศ.2448ก็ได้ออกพระราชบัญญัติทาสคือ "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติทาสอย่างแท้จริงเด็กที่เกิดจากทาสก็ให้ตัดขาดจากการเป็นทาส ระบุเอาไว้ว่าการค้าขายทาสจะต้องโทษทางอาญา แล้วผู้ใดที่เป็นทาสอยู่ให้นายทาวลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาทจนกว่าจะหมด


การปฏิรูประเบียบราชการในการบริหาร

ในการบริหารแผ่นดินนั้นในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังคงดำเนินการบริหารแบบเดิมตามสมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักของบริหารอยู่ 2 หลักคือ1.สมุหกลาโหมเป็นว่าการฝ่ายทหาร 2.สมุหนายกเป็นว่าการพลเรือน โดยแบ่งออกเป็นกรมนครบาล กรมเมือง กรมวัง กรมคลังและกรมนา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรารฏว่าสมควรที่เราจะต้องวางระเบียบราชการบริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามประเทศอื่นๆโดยการจำแนกราชการเป็นกรมต่างๆในปีพ.ศ.2418 และให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า ต่อจากนั้นจึงปรับปรุงกรมต่างๆที่มีอยู่ให้เรียบร้อย โดยการรวมกรมต่างๆเข้าเป็นกระทรวงอย่างเหมาะสม


การศึกษา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้มีการขยายการศึกษาในปีพ.ศ.2414 ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นภายในพระบรมหาราชวัง ทรงออกหมายประกาศชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการโดยการส่งบุตร หลานมาเข้าศึกษาในโรงเรียนนี้ ในตอนนั้ทรงโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุนทรโวหารเป็นอาจารย์ใหญ่ ในเวลาต่อมาก็ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง โดยให้นายยอช แพตเตอร์สันเป้นอาจารย์ใหญ่ โดยทั้งสองโรงเรียนขึ้นตรงกับกรมทหารมหาดเล็ก

ในเวลาต่อมาทรงโปรดใหตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฏรขึ้นตามวัดต่างๆ ซึ่งโรงเรียนที่ตั้งขึ้นแห่งแรกของราษฏรคือ "วัดมหรรณพาราม"ทรงตั้งกรมศึกษาธิการในปีพ.ศ.2428 ในปีพ.ศ.2431 ได้มีการจัดการสอบไล่ขึ้นเป็นครั้งแรก อีก 2 ปีต่อมาได้มีการปฏิวัติการศึกษาขึ้นโดยเป็นการเลิกสอนตามแบบเรียน 6 กลุ่ม พระองค์จึงโปรดให้ตั้งกระทรวงกรรมาธิการขึ้นในปีพ.ศ.2435 เป็นต้นมา

ทัวร์วันปิยมหาราช เที่ยววันปิยมหาราช

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!